fbpx

8 ความสับสนยอดฮิต ที่มักชอบติดตอนทำ SWOT

8 ความสับสนยอดฮิต ที่มักติดตอนทำ SWOT

SWOT ใครๆ ก็รู้จักกัน เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์ธุรกิจและสินค้า สำหรับไปต่อยอดเพื่อสร้างเป็นกลยุทธ์เพื่อแข่งขันกับคู่แข่งอื่นๆ 
.
รู้จักกันเยอะก็จริง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักแล้วใช้งานมันได้อย่างถูกต้อง 
.

วันนี้นินเลยเอาเรื่องนี้มาฝากให้พวกเราได้อ่านกัน กับ “8 ความสับสน ยอดฮิตที่มักชอบติด ตอนทำ SWOT”

.

#นินจาการตลาด ก็เคยเป็น ตอนฝึกฝนวิชาใหม่ๆ สมัยยังเด็ก

ความเข้าใจผิดนี้ ไม่ใช่เรื่องน่าอายเลย ค่อยๆ ฝึกกันไป ใช้กันให้ถูก… ฝึกบ่อยๆ เดี๋ยวเก่งเอง


ถ้าพร้อมแล้วก็เริ่มอ่านกันเลย…

ใครที่ไม่ถนัดอ่าน ก็ดูเป็นคลิปได้นะครับ นั่งฟังเพลินๆ เข้าหูไว้ก็ยังดี

อ.ออดี้ ได้ Live เอาไว้ เลยเอามาแชร์ไว้ให้ดู ให้ฟังด้วยเลย

แยกไม่ออกว่าจุดแข็ง กับ โอกาส ต่างกันอย่างไร

1. แยกไม่ออกว่า จุดแข็ง (S) กับโอกาส (O) ต่างกันอย่างไร
เรื่องนี้ยอดฮิตเลย เจอกันบ่อยๆ ว่าชอบไปเขียน “จุดแข็ง” เป็น “โอกาส” ไปเขียน “โอกาส” เป็น “จุดแข็ง” ก็มันแยกไม่ออกจริงๆ นี่นา โอ้ย สับสนๆ

เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับคนที่ติดปัญหานี้ก็คื

มองเรื่องของ จุดแข็ง ให้เป็นเรื่องภายในองค์กร หรือกับตัวสินค้านั้นๆ ที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ อย่ามองไปไกลกว่านั้น
เช่น 
– ผลิตภัฑณ์มีส่วนผสมพิเศษจากรากไม้พันปีที่มีอยู่แห่งเดียวของประเทศ
– ต้นทุนสินค้าต่ำกว่ามาตฐานในวงการเดียวกัน (คุณสมบัติและคุณภาพเท่ากัน)

และมองเรื่อง โอกาส ให้เป็นเรื่องภายนอกองค์กร หรือนอกเหนือตัวสินค้านั้นๆ ที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ อะไรที่เป็นเรื่องภายนอกระดับมหภาค เช่น การเมือง พฤติกรรมผู้คน กระแสสังคม ฯลฯ
เช่น
– กรมอุตุระบุว่า ปีหน้า ฤดูฝนอาจสั้นลงเหลือเพียง 3.5 เดือนเท่านั้น (หากเป็นบริการท่องเที่ยว ก็คงขายทัวร์ได้มากขึ้น)
– นโยบายรัฐบาลของปธานาธิปดีสหรัฐอเมริกา ส่งผลทำให้การส่งออกจากประเทศไทยไปยังสหรัฐมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น (สินค้าเราเป็นสินค้าที่ส่งออกไปยังต่างประเทศ และสหรัฐอเมริกาก็เป็นหนึ่งในลูกค้ากลุ่มสำคัญ)

แยกไม่ออกว่า จุดอ่อน กับ อุปสรรค ต่างกันอย่างไร
2. แยกไม่ออกว่า จุดอ่อน (W) กับอุปสรรค (T) ต่างกันอย่างไร

ก็ถ้าแยก “จุดแข็ง” กับ “โอกาส” ไม่ออกแล้ว ก็ไม่พ้นว่า จะแยก จุดอ่อนกับ ภัยคุกคามไม่ออกเช่นกัน

เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับคนที่ติดปัญหานี้ก็คื

มองเรื่องของ จุดอ่อน ให้เป็นเรื่องภายในองค์กร หรือกับตัวสินค้านั้นๆ ที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ อย่ามองไปไกลกว่านั้น (แบบเดียวกับที่มองจุดแข็งเปี๊ยบบบเลยยย เพียงแต่ตรงกันข้ามกัน)
เช่น 
– ไม่มีศูนย์บริการในภูมิภาคอยู่เลย (คู่แข่งรายอื่นมีหมด การแข่งขันเราก็ต่ำกว่าแน่นอน)
– ต้นทุนสินค้าสูงกว่ามาตฐานในวงการเดียวกัน (คุณสมบัติและคุณภาพเท่ากัน)

และมองเรื่อง ภัยคุกคาม ให้เป็นเรื่องภายนอกองค์กร หรือนอกเหนือตัวสินค้านั้นๆ ที่เรากำลังวิเคราะห์อยู่ อะไรที่เป็นเรื่องภายนอกระดับมหภาค เช่น การเมือง พฤติกรรมผู้คน กระแสสังคม ฯลฯ (เช่นกันเล้ยย แบบเดียวกับที่มองโอกาสเปี๊ยบบบเลยยย เพียงแต่ตรงกันข้ามกัน)
เช่น
– ผู้ผลิตสินค้าจากจีนเริ่มเข้ามาทำตลาดตรงกับลูกค้าในประเทศไทย (ต้นทุนตัวแทนขาย จะไปสู้อะไรได้กับต้นทุนโรงงาน)
– รัฐบาลกำลังจะประกาศการเพิ่มอัตราค่าแรงขั้นต่ำให้สูงขึ้นอีก 20% (ต้นทุนเพิ่มขึ้นอีกแล้วสินะ)
 
 
 
3. จุดแข็งเรา จุดแข็งคู่แข่ง แข็งเหมือนกัน
แล้วเรียกว่าจุดแข็งได้ไหมอ่ะ

“ก็สิ่งนี้เราทำได้ดีนี่ เป็นจุดแข็งของเราเลย มันเจ๋งมากๆ ลูกค้าคนไหนที่ซื้อสินค้าเราก็ชอบในจุดนี้ ดังนั้นมันเป็นจุดแข็งของเราแน่นอน”
แต่เอ๊ะ… คู่แข่งรายนั้นก็ทำได้ดีแบบเราเลย… รายนั้นก็ด้วย… รายนี้ก็ได้…

อย่างงี้ ไม่เรียกว่าจุดแข็งนะจ๊ะ… เปลี่ยนการเรียกใหม่ซะ…สิ่งนี้มันเรียกว่า..“มาตรฐาน” 
.
สิ่งที่ใครๆ ก็ทำได้ ถึงแม้ว่าเราทำได้ดี แต่จะเหมาว่าเป็นจุดแข็งไม่ได้นะ เอาไปเขียนไว้ก็เอาออกซะเถอะ เพราะนั้นมันคือสิ่งที่ใครๆ ก็ต้องทำให้ได้ หากมาขายสินค้า หรือทำธุรกิจประเภทนี้ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “มันคือมาตรฐานของวงการ” ไปซะแล้ว

ดังนั้น ถ้าจะเขียนจุดแข็ง จำไว้เลยว่า ต้องเขียนจากสิ่งที่โดดเด่นจริงๆ ไม่มีใครมีเหมือน และไม่สามารถมีเหมือนได้ในเร็ววัน..
 
 
 
คิดว่าโอกาสนั้น เป็นของเราคนเดียว
4. คิดว่าโอกาสนั้น เป็นของเราคนเดียว

“โอโห้ เรื่องนี้เป็นโอกาสของเราแล้ว ธุรกิจนี้ต้องไปได้ดีแน่ๆ”
เสียงของทีมงานคุยกันระหว่างวิเคราะห์ข้อมูลโอกาสใน SWOT

ใช่ ไม่ผิดครับ ที่โอกาสนั้น อาจทำให้เราสามารถเติบโตได้มากขึ้น แต่อย่าเหมารวมว่าโอกาสนั้นเป็นของเราคนเดียว

โอกาส เป็นของทุกคนเสมอ หากผู้นั้นมีความพร้อม หากเคยได้ยินสมการที่ว่า

ความสำเร็จ = โอกาส + ความพร้อม

จะรู้เลยว่า ใครกันที่จะประสบความเร็จ ก็คนที่มีความพร้อมกว่านั่นเอง

ดังนั้น โอกาสที่เข้ามา ไม่ว่าจะเรื่องใดๆ ก็ตาม จำไว้ว่า ใครๆ ก็มองเห็นโอกาสนั้นเหมือนเรา ต่างคนก็ต่างคว้าโอกาสเหล่านั้นมาทำให้ตัวเองประสบความสำเร็จทั้งนั้น

สุดท้ายก็อยู่ตรงที่ว่า ธุรกิจไหน เตรียมความพร้อมไว้ดีมากกว่ากัน…
 
 
 

5. อุปสรรค์ที่เจอ ก็โดนกันหมดทุกรายแหล่ะ

เรื่องนี้ก็อีกเช่นกัน เวลาเจอภัยคุกคาม หรืออุปสรรค์ จากภายนอก ที่นอกเหนือการควบคุม บางคนปลอบใจตัวเองว่าใครๆ ก็เจอแบบเรากันทั้งนั้น 

เอาเข้าจริงๆ ก็ไม่ผิดนะครับ ที่ใครๆ ก็เจออุปสรรค์แบบเดียวกันกับที่เราเจอ ก็แน่นอน อยู่ในสังคมเดียวกัน ก็คงเจออุปสรรค์ไม่ต่างกันหรอก (น้ำท่วม ก็ท่วมเหมือนกัน, ปรับค่าแรง ก็ปรับเหมือนกัน) 

แต่ก็เช่นเดียวกับข้อที่ผ่านมา คนที่พร้อมรับมือกับอุปสรรค์ มักจะเป็นผู้นำเสมอ ใช่ว่าเจอปัญหาอุปสรรค์แบบเดียวกันแล้ว ก็จะทำให้สดุดได้เหมือนกันหมด เพราะธุรกิจที่พร้อมกว่า เตรียมตัวรับมือไว้ดีกว่า มีแผนการชัดเจน ย่อมได้เปรียบกว่าแน่นอนอยู่แล้ว

 
 
 
สินค้ามีหลายตัว หลายกลุ่ม ทำ SWOT เดียว ครอบคลุมไปเลยได้ไหม
6. สินค้ามีหลายตัว หลายกลุ่ม
ทำ SWOT เดียวครอบคลุมไปเลยได้ไหม

มิติของสินค้าที่หลากหลาย บางทีอาจต้องทำ SWOT แยกสินค้ากันจะดีกว่า ทำรวมๆ กันเป็นตัวเดียวนะครับ 

บางครั้ง การทำ SWOT สำหรับองค์กร หรือสำหรับธุรกิจภาพรวม ก็อาจไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ความเป็นจริงได้ 

ดังนั้น หากเป็นไปได้ แยกออกมาให้เป็นกลุ่มสินค้าเลย (เหนื่อยหน่อย เยอะหน่อย แต่ก็ละเอียดดี)

แต่ถ้าธุรกิจนั้นๆ เป็นธุรกิจในรูปแบบที่ขายสินค้าในรูปแบบของแบรนด์ได้ จะทำ SWOT ตัวเดียวเลย ก็ไม่เสียหายอะไรครับ
 
 
 
โพกัสเฉพาะจุดแข็ง และโอกาส เท่านั้น ที่จะเอาไปแข่งขันต่อ

7. โฟกัสเฉพาะ จุดแข็ง และ โอกาสเท่านั้น ที่จะเอาไปแข็งขันต่อ

การนำ จุดแข็งและโอกาส ไปใช้สำหรับการแข็งขันนั้นเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็คงทำกันเป็นปกติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทำอยู่แล้ว

แต่หลายคนมองข้าม จุดอ่อนและอุปสรรค์ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องที่มันเป็นความย่ำแย่ของธุรกิจอยู่แล้ว จะไปทำอะไรกับมันก็คงไม่ได้ช่วยทำให้กิจการดีขึ้น

แต่แท้ที่จริงแล้ว การแข่งขัน นอกจากการมองจุดดีและโอกาสแล้ว การมองตลาดในรูปแบบของความท้าทาย (Challenge) ก็เป็นเรื่องที่ควรทำด้วย

โดยเฉพาะจุดอ่อน ซึ่งมักเป็นเรื่องที่คู่แข่งทำได้ดี แต่เราทำได้แย่กว่า นั่นยิ่งจำเป็นต้องพัฒนาจุดอ่อนเหล่านั้นให้ดีขึ้น เพื่อให้แข่งขันได้ โดยมองให้เป็นความท้าทายแทน

อุปสรรค์ก็เช่นกัน ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อหาให้ได้มาซึ่งกลยุทธ์ที่เป็นความท้าท้ายของกิจการให้ได้

 
 
ทำ SWOT เสร็จแล้ว ธุรกิจ ก็จะดีขึ้นมาเองแหล่ะ
8. ทำ SWOT เสร็จแล้ว ธุรกิจ ก็จะดีขึ้นมาเองแหล่ะ

เฮ้ย เรื่องนี้ต้องเคลียร์เลย…ไม่ใช่ว่าทำ SWOT แล้ว จะทำให้ธุรกิจดีขึ้นมาได้เองอัตโนมัติ ต้องนำไปปฏิบัติจริงด้วย

อ้าว… ทำ SWOT แล้วปฏิบัติจริง… ทำยังไงล่ะ

การทำ SWOT มันเป็นแค่เครื่องมือตั้งต้น สำหรับการสร้างกลยุทธ์การตลาด หากไม่มี SWOT การทำกลยุทธ์ก็จะไม่ง่ายนัก จริงๆ ถึงขั้นทำไม่ได้เลยก็มี

การลงทุนในการสร้างกลยุทธ์การตลาดนั้นสำคัญไม่แพ้กับ การลงทุนไปกับการขายเลย 

นินเห็นมาบ่อยๆ เรามักจะลงทุน ลงแรงไปกับการขายกันเป็นใหญ่ ทั้งการจ้างพนักงานขาย ลงทุนตกแต่งหน้าร้าน การซื้อโฆษณาบน Social Network ฯลฯ
แต่เรามักจะลืมกันไปว่า หากมีกลยุทธ์ที่ดีแล้ว การขายก็จะง่ายและคล่องตัวมากขึ้นด้วย 
ขนาด #ทัพรบยังต้องมียุทธวิธี #SMEต้องมีกลยุทธ์
 
 
 
ติดตามความรู้การสื่อสารการตลาดดีๆ ได้ที่นี่ นินจาการตลาด SME ต้องมีกลยุทธ์

ติดตามความรู้ดีๆ ด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัลได้ที่ LINE@ นินจาการตลาด: @ninjakantalad
หรือคลิกที่นี่เลย

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก