fbpx

#สรุปให้ในโพสเดียว การสร้างแบรนด์ด้วย Brand Archetype

คุณรู้จัก Brand Archetype ดีแค่ไหน ?
Brand Archetype มันเป็นสิ่งที่คนทำธุรกิจหรือทำแบรนด์นั้นพูดถึงกันอยู่บ่อย ๆ เเต่สำหรับคนที่ไม่เคยรู้หรือไม่เคยเรียนเรื่องนี้มาก่อน ก็อาจจะงงว่ามันคืออะไร สำคัญขนาดไหนในการทำแบรนด์ ? 

วันนี้ผมนินจาการตลาดก็เลย ทำสรุปมาให้ทุกคน ทั้งคนที่รู้อยู่เเล้วเเต่ยังไม่มั่นใจกับคนที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เข้าใจไปพร้อม ๆ กันเเบบง่าย ๆ #สรุปให้ในโพสต์เดียว
อ่านต่อ
นินจาการตลาด

1. คำว่า Archetype นั้นก็คือ การอธิบาย “รูปแบบ” หรืออะไรก็ตามที่เป็น Pattern โดยเหล่านักคิดก็มักจะสร้างมาเพื่ออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ แต่สำหรับตัว Archetype ที่นำมาใช้ต่อยอดเป็น Brand Archetype นั้นที่เป็นรูปเป็นร่างเเละเริ่มแพร่หลายมากที่สุด ก็คือ Archetpye ของ Carl Jung ซึ่งเขาเป็นนักจิตวิทยา และได้ใช้คอนเซปต์นี้ในการอธิบายถึงจิตวิทยาของมนุษย์โดยเขาเชื่อว่า Archetype ต่าง ๆ นั้นคือ “แรงขับ” พื้นฐานของมนุษย์นั่นเอง ซึ่งตรงนี้เขาได้สร้างแม่แบบหลัก ๆ ออกมา 12 แบบ เพื่อใช้อธิบายแรงขับหรือแรงจูงใจบนพื้นฐานของมนุษย์

นินจาการตลาด

2. แล้วมันมาเชื่องโยงกับการทำแบรนด์ได้อย่างไร? สำหรับ Archetype ที่กล่าวมานั้น ก็เปรียบเสมือนความต้องการลึก ๆ ของมนุษย์และถ้าแบรนด์ต่าง ๆ สามารถเข้าไปตอบสนองมันได้ ก็ย่อมทำให้แบรนด์นั้นสามารถ “มัดใจ” ลูกค้าคนนั้นได้นั่นเอง และในขณะเดียวกันคือด้วยการที่ Archetype นี้เป็นพื้นฐานความคิดของมนุษย์ การที่ตัวแบรนด์สามารถเชื่อมโยงกับ Archetype อันใดอันหนึ่งได้ก็จะทำให้ตัวแบรนด์นั้น “ชัด” และ “เข้าถึง” ได้ง่ายนั่นเองครับ

นินจาการตลาด

3. รียกง่าย ๆ ว่าคุณต้องเลือกใช้ ที่เหมาะกับคุณ เพราะถ้าคุณใช้ Brand Archetype เเบบไหนคุณจะได้ลูกค้าในเเบบนั้น เพราะถ้าคุณยังเป็นในสิ่งที่ไม่ใช่คุณ คุณก็จะเหนื่อยมาก

นินจาการตลาด

4. สรุปง่าย ๆ Brand Archetype มันก็คือ แม่แบบของแบรนด์นั่นเองครับ เพราะจากการศึกษาของนักการตลาดพบว่าแบรนด์ในโลกทั้งหมดทั้งมวล ไม่ว่าจะมีมากมายเท่าไหร่ แต่ก็มักจะมีตัวตนที่สะท้อนออกมาเป็น 12 รูปแบบหลัก ๆ ด้วยกันนั่นคือ

นินจาการตลาด

5. Creator เป็นลักษณะแบรนด์ที่อยากสร้างสรรค์ อยากทำจินตนาการให้เป็นจริง เเละให้ความสำคัญกับงานฝีมือเอามาก ๆ จริงจังที่จะมุ่งสู่ความสมบูรณ์แบบ Brand Archetype นี้จะเป็นที่รู้จักในด้านจินตนาการและนวัตกรรมสร้างแรงบันดาลใจที่ไม่มีที่สิ้นสุด

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Lego
นินจาการตลาด

6. Everyman  เป็นลักษณะแบรนด์ที่แทนตัวคนทุกคน และเข้าใจคนทั่วไป ไม่มีใครเด่นกว่าใคร  ไม่ได้สวยโดด หรือฉลาดเวอร์ แต่คือคนปกติที่เข้าถึงได้ทุกๆ คน นั่นคือหัวใจของ Brand Archetype นี้ ที่พยายามเน้นให้ทุกคนสามารถ“เข้าถึงได้”

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : IKEA
นินจาการตลาด

7. Explorer เป็นลักษณะแบรนด์ที่มีพลังที่อยากจะออกไปผจญภัย หรือแสวงหาความท้าทาย ต้องการอิสระ เน้นการ “เดินทาง” ไปกับโลกที่อยู่ข้างหน้า ได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ อยู่เสมอ

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Redbull
นินจาการตลาด

8. Sage เป็นลักษณะแบรนด์ที่ชอบค้นคว้า หรือให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อการเรียนรู้ที่มากขึ้น ยิ่งรู้เยอะก็จะยิ่งทำให้ใช้ชีวิตได้เข้าใจโลกได้ดีขึ้น จุดหมายมุ่งหมายของ Brand Archetype รูปแบบนี้เลยเน้นไปในเรื่องของการรู้สิ่งต่าง ๆ การได้รู้ถึงข้อเท็จจริง ข้อมูลจริง ๆ และมักจะเป็นภาพจำของความฉลาด

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Google
นินจาการตลาด

9. Hero เป็นลักษณะแบรนด์ที่บ่งบอก ถึงการเอาชนะอุปสรรค ฝ่าฟันไปให้ถึงจุดหมายที่ใจต้องการได้เช่นเดียวกับในภาพยนตร์ฮีโร่ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดี สัญลักษณ์ที่สื้อถึงฮีโร่ คือ ความกล้าหาญความเป็นผู้นำและความมุ่งมั่น เเละแบรนด์เหล่านี้มีเป้าหมายที่โดดเด่น เเละพยายามที่จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านเเบรนด์ของตัวเอง เเละเป็นผู้สนับสนุนสังคมไปในตัว เเละเต็มใจที่จะยืนหยัดเพื่อผู้อื่น

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Nike
นินจาการตลาด

10. Lover เป็นลักษณะแบรนด์ที่สร้างความรัก หรือจะเรียกว่า “นักรัก”​ ก็ได้ มันคือการถวิลหาและอยู่เคียงข้างกับคนที่เขารัก ซึ่งแน่นอนว่าการถวิลหานี้ย่อมมีการ “ปลุก” ความรู้สึกต่างๆ ให้รู้สึกน่าหลงใหล น่าดึงดูดนั่นเอง Lover นั้นเป็นเเม่แบบ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความหลงใหล ซึ่งมันทำให้แบรนด์นี้เป็นแม่แบบที่ทรงพลัง สินค้าฟุ่มเฟือยส่วนบุคคลเช่นเสื้อผ้าและน้ำหอมเป็นหนึ่งในต้นแบบของ Lover ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ :  Chanel
นินจาการตลาด

11. Jester เป็นลักษณะแบรนด์ที่ให้อารมณ์ขัน และสนุกสนานไปกับแบรนด์ เน้นเฮฮา เพราะความบันเทิงคือสิ่งที่กลุ่มนี้ต้องการ ฉะนั้นแบรนด์ในกลุ่มนี้เลยมักเป็นแบรนด์ที่มีสีสัน สนุกสนาน และทำให้คนรู้สึกยิ้มแย้ม

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : M&M
นินจาการตลาด

12. Magician เป็นลักษณะแบรนด์ของการสร้างสรรค์ การสร้างสรรค์สิ่งที่ไม่มีจริง เป็นจินตนาการให้คนอื่นแม่แบบนี้ดึงดูดผู้ชมด้วยความลึกลับและความเชื่อที่ว่าความฝันเป็นจริงได้ข้อความของพวกเขาถือได้ว่าเป็นแรงบันดาลใจให้เราพยายามทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้และจินตนาการของเราถูกเสมอ

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : AXE
นินจาการตลาด

13. Outlaw เป็นลักษณะแบรนด์ที่ไม่สนใจกฏใด ๆ  และทำตามใจตัวเองเป็นหลัก ชอบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เรียกได้ว่า Brand Archetype รูปแบบนี้ คือคนที่ต้องการออกจากกฏเกณฑ์แบบเดิม ๆ เพื่อทำให้พวกเขาได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และแน่นอนว่าตัวแบรนด์ที่ใช้แนวทางนี้มักจะเป็นที่ต้องการของคนที่ไม่ได้อยู่ในกรอบ

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Virgin
นินจาการตลาด

14. Ruler เป็นลักษณะแบรนด์ที่อยากปกครอง หรือกำหนดแนวทางให้คนเดินตาม แบรนด์ในกลุ่มนี้คือการบอกว่าตัวเองคือ “ผู้นำ” หรือ “ผู้กำหนดทิศทาง” ซึ่งจะตอบสนองกับความต้องการของคนที่ต้องการเป็นคนมีอำนาจในการควบคุมสิ่งต่างๆ

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Mercedes-Benz
นินจาการตลาด

15. Innocent แม่แบบของรูปแบบนี้ คือการสร้างความดึงดูดใจด้วยการมองโลกในแง่ดีและความรู้สึกไร้เดียงสา ความบริสุทธิ์ เป้าหมายของมัน คือ การถ่ายทอดความสุข ที่มักจะเน้นให้คนรู้สึกถึงความดีงามที่อยู่ภายใน ปลอดภัย ไม่อันตราย

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : Dove
นินจาการตลาด

16. Caregiver เป็นลักษณะเเบรนด์ที่เเสดงให้เห็นถึงความเป็นห่วงเป็นใยคนอื่น และพร้อมแบ่งปันความรู้ที่ดีเเละความรักให้กับคนอื่น อยากให้ผู้อื่นมีความสุข และขจัดการเอาเปรียบและการเห็นแก่ตัว

ตัวอย่างเเบรนด์ที่ใช้แม่แบบนี้ : UNICEF
นินจาการตลาด

17. สำหรับการที่จะเอาไปใช้ในการทำงานจริงนั้น เราก็จะต้องดูกันว่ากลุ่มเป้าหมายของเรานั้นคือใคร สินค้าของเราเป็นแบบไหน และจะได้เลือกได้ว่าแบรนด์ของเรา ควรจะใช้ Archetype ไหนมาเป็น “ตัวตน” หรือ “อัตลักษณ์” ของตัวแบรนด์นั้น ๆ  ซึ่งนั่นจะเป็นภาพสะท้อนออกมาทั้งเรื่องการออกแบบกราฟิก การออกแบบข้อความ การสื่อสารต่าง ๆ ในการโฆษณา

 

นินจาการตลาด

18. มันทำให้ผู้ร่วมงานหรือทีมงานของเเบรนด์เข้าใจในภาพเดียวกันมากขึ้น เมื่อมี Brand Archetype เป็นตัวกำหนด ปฎิบัติตัวไปในทางเดียวกัน ไม่ขัดเเย้ง แต่ละ Brand Archetype นั้นก็จะมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ที่จะมีทั้งจุดอ่อนเเละจุดเเข็ง จุดอ่อนหรือจุดแข็งที่ว่านั้นก็คือ มันสามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างได้ เเละก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการบางอย่างได้ ตรงนี้เเหละครับคือความท้าทาย ความยาก เพราะเขาว่ากันว่าแบรนด์ที่ดีนั้น คือเเบรนด์ที่โชว์สามารถที่โดดเด่นเเละชัดเจนใน Brand Archetype ของตัวเอง

นินจาการตลาด

เเต่ในปัจจุบันตอนนี้ เราจะเห็นว่าบางเเบรนด์นั้น เอาส่วนผสมของ Brand Archetype อื่นมาผสมกับของตัวเองกันเต็มไปหมด เพราะเห็นว่า มันดี มันน่าสนใจ จนสุดท้ายมันจะส่งผลให้การสื่อสาร  การออกแบบ, ข้อความ และประสบการณ์ที่ Brand Archetype ควรจะชัดเจนกลับไม่ชัดเจนนั่นเองครับ

สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก