ประเภทของคอนเทนต์ ไม่ว่าจะออฟไลน์หรือออนไลน์นั้น มีอยู่หลากหลายประเภทมาก แต่เคยสังเกตกันไหมครับว่า คอนเทนต์แนว competition หรือการแข่งขันต่าง ๆ ยังคงได้รับความนิยมอยู่อย่างต่อเนื่อง แทบจะไม่ดรอปลงเลย
ยกตัวอย่างเช่น รายการประกวดร้องเพลง รายการประกวดความสามารถพิเศษ หรือรายการแข่งขันการตอบคำถามต่าง ๆ ยังคงมีให้เห็นอยู่จนถึงทุกวันนี้ และก็ยังคงได้รับความสนใจอยู่เสมอ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะมีความคลางแคลงใจว่า ทำไมคอนเทนต์หรือรายการประเภทนี้ ทำไมถึงมีอยู่มากมายเต็มไปหมด ยังมีคนดูอยู่อีกเหรอ ? บอกเลยว่ามีครับ หากอยากรู้ว่าทำไม มาไขข้อข้องใจในบทความนี้ได้เลยครับ…
อ่านต่อ
Competition Content เป็นคอนเทนต์ในรูปแบบการแข่งขันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการประกวดร้องเพลง ประกวดความสามารถพิเศษ ประชันความสวยความงาม แข่งขันการตอบคำถาม ฯลฯ ซึ่งสามารถทำได้ทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ และสามารถทำได้หลายรูปแบบเช่นกัน
Photo: Workpoint Entertainment
หนึ่งในตัวอย่างของ Competition Content ที่ได้รับความนิยมและมีกระแสแรงมาก ๆ ทั้งในโลกออนไลน์และออฟไลน์ คงจะเป็นใครไปไม่ได้เลย นั่นก็คือ “รายการ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง” ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงดำเนินรายการอยู่อย่างต่อเนื่อง เราลองมาวิเคราะห์กันดูดีกว่าว่า ทำไมผู้คนยังคงให้ความสนใจกับคอนเทนต์ประเภทนี้อยู่
Photo: Workpoint Entertainment
อย่างที่หลาย ๆ คนทราบกันดีว่า รายการ The Mask Singer นั้น จะเป็นรูปแบบรายการที่เชิญดารา นักร้อง หรือนักแสดงในวงการบันเทิงมากหน้าหลายตา มาสวมอีกคาแรกเตอร์หนึ่งภายใต้หน้ากากที่ตนเลือก แล้วมาร้องเพลงแข่งกัน นอกจากนี้ ก็ยังมีช่วงที่ให้คณะกรรมการได้พูดคุยล้วงความลับจากผู้เข้าร่วมรายการภายในเวลา 2 นาที เพื่อสืบข้อมูลว่าเป็นใครกันแน่ ถือเป็นช่วงที่ได้แสดงตัวตนและยิงมุกกันกระจายเลยทีเดียว ซึ่งนี่แหละเป็นส่วนหนึ่งในเหตุผลที่ว่า ทำไม Competition Content ถึงยังมีคนติดตามรอชมอยู่เสมอ
เพราะโดยพื้นฐานของ Competition Content นั้น จะมีในเรื่องของความ Entertain ซึ่งใคร ๆ ชอบความบันเทิงเริงใจกันทั้งนั้น บวกกับ Emotional หรือความรู้สึกร่วม ในการผลิตคอนเทนต์แนวนี้ออกมา จึงทำให้คนดูเกิดความสนุกและอินตามได้ง่าย
และโดยทัศนคติของคนส่วนใหญ่ในสังคม ที่มักจะมองว่าบุคคลที่อยู่ในหน้าจอโทรทัศน์ หรือแม้แต่มือถือ ล้วนเป็นบุคคลสาธารณะ ทำให้อยากที่จะรู้จักและคุ้นเคย หรือมีส่วนร่วมกับคนเหล่านั้นให้ได้มากที่สุด ซึ่งรายการประกวดอะไรทำนองนี้ เรื่องราวก็คล้าย ๆ แบบนั้น
เมื่อรายการเปิดตัวผู้เข้าแข่งขัน หรือได้เห็นศักยภาพส่วนหนึ่งของผู้เข้าแข่งขันแล้ว ผู้ชมส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกข้างล่ะ ว่าจะเชียร์คนไหน ทีมไหน หลังจากนั้นก็จะคอยติดตามเรื่องราว คอยลุ้น คอยเชียร์ คอยให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด หรือบางคนก็อาจจะช่วยเชียร์อยู่ห่าง ๆ อย่างห่วง ๆ ก็มี และเมื่อถึงคราวประกาศผล จึงไม่แปลกใจเลยที่มักจะเห็นกองเชียร์ดีใจ หรือเสียน้ำตาไปกับผู้เข้าแข่งขันด้วย เพราะเขามีความรู้สึกร่วมไปด้วยนั่นเอง เนื่องจางรายการส่วนใหญ่ มักจะมีการเล่าเรื่องราวชีวิตของผู้เข้าแข่งขันมาตั้งแต่ต้น ให้เราได้เห็นภูมิหลัง รวมถึงพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ทำให้ผู้ชมรู้สึกสนิทกับผู้เข้าแข่งขันไปโดยปริยาย ก็เลยรู้สึกอินไปในทุก ๆ เรื่องราวของพวกเขานั่นเอง
Photo: @thestar12update
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วอาจจะรู้สึกว่า Competition Content ทำได้แค่รูปแบบออฟไลน์ และต้องเล่นใหญ่แบบรายการทีวีเลยหรือเปล่า บอกเลยว่าไม่ขนาดนั้นครับ ทำในออนไลน์ก็ได้ และรูปแบบใดก็ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น อาจจะโพสต์รูปอะไรบ้างอย่างเกี่ยวกับสินค้าหรือธุรกิจของคุณลงในโซเชียลมีเดีย แล้วให้คนมาคอมเมนต์แข่งกันตั้งชื่อสินค้า แล้วแจกของรางวัล ก็ถือว่าเป็น Competition Content ได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องลงทุนกันสักหน่อย
Photo: Taiwan I Colors of Taiwan