fbpx

9 เทรนด์การตลาดปี 2022 ที่คุณต้องรู้ ถ้าไม่อยากพลาดให้คู่แข่งทางการตลาดนำคุณไปได้!!!

ถ้าคุณอยากปังรับปี 2022 คุณต้องไม่พลาด กับทุกเทรนด์ของการตลาดดิจิทัลที่กำลังมาแรง รู้ก่อนลงมือก่อน ได้เปรียบกว่าเป็นไหน ๆ

วันนินจาการตลาดได้รวบรวมเทรนด์การตลาดของปี 2022 มาให้ อ่านให้จบ แล้วพร้อมไปรบ เอ้ย พร้อมนำไปปรับใช้ให้เข้ากับแผนการตลาดของคุณ อย่ามัวรอช้า ไปกันเลยกันเลย

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

1. Omni Channel เพิ่มยอดขายทั้งออนไลน์และออฟไลน์ พร้อมวางระบบ ปรับโครงสร้างใหม่

หัวใจสำคัญของการทำการตลาด คือ การสร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อนำไปสู่ความ Loyalty ต่อแบรนด์ ซึ่งในยุคดิจิทัลปี 2022 นี้ Omni Channel Marketing จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก



นินจาการตลาด

Omni Channel Marketing คือการทำการตลาดหลากหลายช่องทาง ครบทั้งออนไลน์และออฟไลน์ โดยที่ทุก ๆ ช่องทางมีการเชื่อมต่อกันแบบ Seamless ทำให้ลูกค้าสามารถได้รับประสบการณ์ที่ดีแบบเดียวกันในทุก ๆ ช่องทาง ซึ่งจะสามารถสร้างความพึงพอใจและสามารถพัฒนาไปเป็นความ Loyalty ต่อแบรนด์ได้

ส่วนสำคัญของการทำการตลาดประเภทนี้ คือ แบรนด์จำเป็นต้องรู้จักลูกค้าให้มากพอ จนสามารถวางกลยุทธ์ในการตอบโจทย์แบบ Personalize ได้ 

.

จากนั้นแบรนด์ต้องวางระบบ และโครงสร้างของแต่ละช่องทางใหม่ รีวิธีคิดแบบเดิม  รวมไปถึงการสร้างแบรนด์ที่ต้องเริ่มจากภายใน ซึ่งแต่ก่อนเรามักจะเริ่มจากภายนอก เช่น การทำการสื่อสารการตลาด การทำสื่อโฆษณารีแบรนด์ หรือการนำเอาระบบอำนวยความสะดวกผู้บริโภคมาใช้

.

แล้วค่อยนำมาปรับใช้และสื่อสารกับภายในองค์กร แต่ในปัจจุบันและอนาคต วิธีการคิดลักษณะนี้จะเปลี่ยนแปลงไป พูดง่ายๆ ก็คือ ธุรกิจใหม่ ๆ ที่เราเห็นในปัจจุบันส่วนมากเกิดขึ้นจากภายในก่อน เกิดจากระบบภายในที่แข็งแรง เกิดจากวัฒนธรรมองค์กร หรือความเชื่อขององค์กรอะไรบางอย่างจากคนภายในก่อน ทั้งในเรื่องของ Transformation หรือ Brand Value แล้วจึงถูกนำเสนอออกมาสู่ภายนอกทีหลัง

ราควรจะเริ่มจากคนใน หรือภายในก่อน ทำเทรนนิ่งเพื่อคนในองค์กรก่อนแล้วค่อยทำออกมาสู่ภายนอกเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเริ่มเปลี่ยนมากขึ้นในอนาคต โดยองค์กรจะเริ่มหันมาสร้างแบรนด์และสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เริ่มต้นจากคนในแล้วค่อยสื่อสารมันออกไปสู่ภายนอก

นินจาการตลาด

2. Data สิ่งล้ำค่าที่นักการตลาดต้องแข่งกันช่วงชิง เราอยู่ในยุคที่โลกดิจิทัลสามารถช่วยให้เราหาข้อมูลจากคนนวนมากได้หลากหลายวิธี ซึ่งได้เปรียบกว่าโลกสมัยก่อนมาก และข้อดีของมัน ก็ช่วยให้เราวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดของเราได้ดียิ่งขึ้น แม่นยำยิ่งขึ้น



Data ของกลุ่มเป้าหมายนี่เปรียบเสมือน GPS เหมือนเข็มทิศส่องทางชีวิต เลยก็ว่าได้ครับ เพราะมันเป็นสิ่งสำคัญที่จะกำหนด ถึงทิศทางของแคมเปญและแผนการตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้น ว่าจะไปในแนวทางไหน ไปทางไหนแล้วดีที่สุด

.

ยิ่งเรามี data เกี่ยวกับลูกค้ามากเท่าไหร่ แบรนด์ก็ยิ่งสามารถพัฒนาบริการและการดำเนินงานให้ตอบโจทย์ความต้องการได้มากเท่านั้น แถมยังสามารถนำมาคาดการณ์เทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย! ดังนั้นแล้ว Data เปรียบเสมือนสใบัติล้ำค่าที่เหล่านักการตลาด ต้องแข่งกันช่วงชิงมาให้ได้ ใครที่มี Data ที่เยอะกว่า ลึกกว่า ชัยชนะก็อยู่ตรงหน้าคุณแล้วครับ

 

แต่…โลกมันไม่ง่ายแบบนั้นหรอกครับ และนี่ก็นับเป็นโจทย์ยากของวงการโฆษณาและการตลาด เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบของ Privacy  เช่น iOS ที่มีการอัปเดตให้ลบคุกกี้ที่รอดำเนินการ  

.

รวมไปถึง Safari และ Firefox ที่สามารถบล็อกคุกกี้ของ Third-Party ได้ เป็นผลทำให้เก็บ data ได้น้อยลง ซึ่งแบรนด์เองก็ต้องปรับตัวและหาวิธีใหม่ในการเก็บ data กันต่อไป…

.

ยังครับ ยังไม่พอแค่นั้น ความยากยังมีอีก เมื่อคุณมีข้อมูล มี Data ที่เยอะแล้ว แน่นแล้ว แต่มันยังไม่พอ… การตลาดยุคใหม่ต้องเพิ่มความเห็นอกเห็นใจผู้บริโภคเข้าไปด้วย

.

ในตอนนี้ใคร ๆ ก็อยากเก็บข้อมูลให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะทั้งทางตรงทางอ้อม ซึ่งนั่นก็เป็นวิธีที่ดีที่สำคัญ ที่มันจะช่วยให้เราทำการตลาดได้ตรงจุด แต่ในขณะเดียวกัน การเห็นอกเห็นใจหรือการเข้าใจ Pain ที่แท้จริงภายใต้ข้อมูลผู้บริโภคที่เราเก็บมาก็สำคัญไม่แพ้กัน

 .

แนวคิดเรื่อง Empathy มีมาพร้อม ๆ กับ แนวคิดเรื่อง Design Thinking ซึ่งเป็นแนวคิดสำคัญที่ใช้ในการดีไซน์สินค้าตัวใหม่ แต่แนวคิดนี้ถูกปรับมาใช้ในการสื่อสารการตลาดมากขึ้น ที่นักการตลาดจำเป็นที่จะต้องเพิ่ม Empathy ลงไป 

.

ไม่ว่าจะเป็นการเข้าใจปัญหาของผู้บริโภคอย่างแท้จริง การสื่อสารอย่างระมัดระวังในประเด็นละเอียดอ่อน การสื่อสารโดยไม่หลอกหลวงหรือไม่รบกวน และสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เราตั้งใจทำ การเข้าใจในสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวัง สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้เราชนะใจผู้บริโภคได้มากขึ้นและง่ายกว่าเดิม

นินจาการตลาด

3. Influencer Marketing มาแรง ไม่เคยแผ่ว!

 

ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด อาชีพนู่นดับ อาชีพนี้ร่วง หลาย ๆ ธุรกิจเริ่มชะลอตัว

แต่…Influencer Marketing กลับเติบโตขึ้นอย่างสวนกระแส

ที่สำคัญ เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา Influencer Marketing สามารถทำมูลค่าทางการตลาดไปได้ถึง 13.8 พันล้านเหรียญ ข้อมูลอ้างอิงมาจาก Influencer MarketingHub

แล้วทำไม Influencer Marketing ถึงเติบโตสวนกระแส จนสามารถทำมูลค่าไปได้สูงขนาดนั้น ก็เพราะว่า การตลาดประเภทนี้ทำผ่านออนไลน์อย่างเดียว ไม่จำเป็นต้องมีการออกกอง เพื่อถ่ายหนัง หรือถ่ายโฆษณา แต่ใช้แค่ การรีวิวของคนดังที่มีผู้ติดตามอยู่มากสมควรก็เท่านั้น

.

และหากสามารถรีวิวที่น่าสนใจ มีไอเดียที่สร้างสรรค์และที่สำคัญ น่าเชื่อถือ ก็จะทำให้เกิด Word of Mouth ที่ส่งต่อกันไปเรื่อย ๆ และยังเกิดการแชร์ต่อแบบ Organic ซึ่งเป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของแบรน์เป็นอย่างมาก

.

มันดูเหมือนจะง่ายก็จริงนะครับ เพียงแค่จ้างคนดัง มารีวิวสินค้าให้ แต่…สิ่งที่ต้องระวังมันก็มีนะครับ เพราะพลาดกันมาเยอะแล้ว!  นั่นคือการเลือกใช้ Influencer ให้เหมาะ ให้เข้ากับแบรนด์ด้วย ต้องเลือกให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายของเรา แล้วการตลาดแบบ Influencer Marketing ก็จะได้ผลดีที่เดียว

นินจาการตลาด

4. กระแสที่ไม่ควรมองข้ามกับ Short Video แนว TikTok และ Stories

.

อันนี้ต้องขอบอกเลยครับว่า content แนว TikTok video และ Stories ที่เน้นการดูแนวตั้งผ่าน mobile ยังคงเป็นกระแสอย่างต่อเนื่อง และมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวัน และเชื่อว่าในปี 2022 ก็จะยังคงมาแรงต่อไป เพราะในทุก ๆ แอปฯ ตัวท็อป ก็ออกฟีเจอร์วิดีโอแนวนี้มาครบหมดแล้ว

.

อย่างแอปฯ TikTok เอง ในช่วงปีก่อนหน้าที่ผ่าน เขาเติบโตขึ้นอย่างมากจากวิดีโอสั้น จนในตอนนี้ TikTok มียอดผู้ใช้งานสูงถึง 732 ล้าน ขยับขึ้นมาเป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับที่ 7 และเหนือกว่าโซเซียลมีเดียที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ เช่น Pinterest (มีผู้ใช้งาน 478 ล้านคน) หรือแม้แต่ Twitter (มีผู้ใช้งาน 397 ล้านคน) 

.

และอย่างในปีนี้เองทิศทางการเติบโตของ TikTok จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแบรนด์หรือนักการตลาดเองจึงควรหันมาลงสนาม ปรับตัวตามเทรนด์นี้เอาไว้ ศึกษาเกี่ยวกับคอนเทนต์ใน TikTok และนำมาปรับใช้กับแผนการตลาดของคุณต่อไป รับรองปังแน่

นินจาการตลาด

5. การกระจายตัวของเม็ดเงินโฆษณาดิจิตอล

ในปี 2021 ที่ผ่านมา เราจะเห็นเลยว่าค่าโฆษณาใน Facebook นั้นแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสมาคมโฆษณาดิจิทัลแห่งประเทศไทยประเมินว่า

เม็ดเงินโฆษณา Digital Advertising Spending จะแตะที่ 22,800 ล้านบาท ซึ่งจากตัวเลขนี้ มากกว่า 50% จะไปลงในโฆษณา Facebook และ YouTube

.

นอกจากเรื่องค่าโฆษณาแพงเพราะคู่แข่งเยอะมากขึ้นแล้ว ไหนจะมีเรื่อง Data Privacy อีก สิ่งเหล่านี้ก็เป็นอีกประเด็นที่อาจจะทำให้นักการตลาดหันไปมอง Platform อื่นมากขึ้นเพราะความแม่นยำในการลงโฆษณาบน Facebook ดูจะดรอปลงไป ทำให้แทนที่จะพึ่ง Facebook เพียงอย่างเดียวในการ Targeting หากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ

ในปี 2022 นี้เราน่าจะได้เห็นการกระจายตัวของโฆษณาไปใน Platform อื่นกันมากขึ้น

 

ยกตัวอย่างเช่น หากแบรนด์ต้องการจะเจาะกลุ่มคนโสด Tinder Ads ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่า

หรือหากอยากจะคุยกับกลุ่มคนเมือง ผู้ที่อยู่ในกระแสตลอดเวลา Spotify Ads ก็น่าสนใจ

หากอยากจะสื่อสารกับกลุ่มพนักงานบริษัท ก็มี Linkedin ให้เป็นอีกตัวเลือก หรือเจาะกลุ่มคนที่ชอบการสั่งอาหาร Delivery ใช้ Grab Ads ย่อมตรงมากกว่า หรือ Twitch ก็เป็นอีก Platform ที่น่าสนใจสำหรับวัยรุ่นชอบเล่นเกมส์ 

.

ยังไม่นับการลงโฆษณาบน TikTok ที่ยังมีราคา CPM (ย่อมาจาก “Cost per 1000 impressions”

(ต้นทุนต่อการแสดงผลพันครั้ง) และ CPC (คือจำนวนเงินที่คุณได้รับในแต่ละครั้งที่ผู้ใช้คลิกโฆษณาของคุณ) ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับ Facebook ด้วยงบประมาณโฆษณาที่เท่ากัน

.

และไหนจะยังมี Streaming Platform อื่น นอกจาก Netflix และ YouTube ที่เปิดรับโฆษณาอีก อย่าง ViU, BugabooTV ที่แต่ละ Platform มีจุดเด่นคอนเทนต์ที่แตกต่างกันตามความสนใจกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลาย

.

อย่างนั้น ถ้าในปีนี้ ราคา Facebook Ads ยังคงแพงอยู่แบบนี้ไปเรื่อย ๆ และการเข้าถึงด้วย Data พฤติกรรมการใช้งานทำได้ยากขึ้น เราอาจจะได้เห็นการโยกย้าย Budget ครั้งใหญ่กระจายออกจาก Facebook และ YouTube ไปใน Platform อื่นเพิ่มขึ้นก็เป็นได้ครับ

นินจาการตลาด

6. Live Streaming

คุณยังจำปรากฎการณ์ของ Facebook Live ของ 2 พส. ที่มีคนดู Live สดมากกว่า 2 แสนคนได้กันไหมครับ ช่วงนั้นเป็นกระแสถึงขั้นที่ว่าแบรนด์ต่าง ๆ ต้องมาตาม Comment กันยกใหญ่ รวมถึงรายการ Live ที่คนติดกันทั่วบ้านทั่วเมือง อย่าง NaNake555  ที่ Facebook APAC Summit หยิบมาเป็น Case Study เกี่ยวกับการผลิต Facebook Live Video เลยที่เดียว 

.

นอกจากนั้นเหล่าดาราและศิลปินคนดังตอนนี้ต่างก็ผลิต Content ให้ช่องตัวเองทางออนไลน์กันเกือบทุกคน เรียกได้ว่าในปี 2021 ที่ผ่านมา ถ้าดาราคนไหนยังไม่มี YouTube หรือ Facebook เป็นของตัวเองนี่คือตกเทรนด์มาก ๆ บางคนถึงขั้นสร้างเพจขึ้นมา เพื่อไลฟ์ขายของโดยเฉพาะ และเป็นไปได้ว่าในปีนี้ ศิลปินดาราอีกหลาย ๆ คน อาจจะเริ่มทำ Live รายการสดกันมากขึ้นก็ได้ แบรนด์ไหน ธุรกิจไหน ยังไม่เคยทำ เชยแล้วนะครับ รีบเลย




นินจาการตลาด

7. Meme Marketing

“มีม” เป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้กันเยอะมากในวงการ Digital Marketing ทั้งในภาพยนตร์ คลิปวิดีโอ โฆษณา จับมาโยงกับเหตุการณ์ที่แบรนด์ต้องการสื่อออกไปได้ ถ้าทำได้ดีก็อาจจะกลายเป็นกระแสไปเลย

.

เพราะเป็นการเล่าเรื่องที่ง่าย ใช้แค่ภาพ หรือข้อความก็ทำให้ทุกคนเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว มองปุ๊บ รู้ปั๊บ

แต่ในการใช้ Meme Marketing ก็ยังมีข้อที่แบรนด์ควรจะต้องระวังไว้อยู่นะครับ

อย่างในช่วงปี 2021 หลายคนอาจเริ่มเห็นกระแสตีกลับของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับการเล่นคอนเทนต์กระแสของแบรนด์ ยกตัวอย่างเช่น มีมช้างป่าที่บุกพังกำแพงบ้านในชุมชนแห่งหนึ่งของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เพื่อหาอาหาร หลังจากเจ้าของบ้านโพสต์ลงโซเชียลมีเดียก็เกิดการแชร์ต่อเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว บรรดาแบรนด์ต่าง ๆ ก็เข้ามาร่วมแจมทันที 

.

ทำให้เกิดประเด็น สวัสดิการของสัตว์ที่ต้องดิ้นรนออกมาหาอาหารในชุมชน อันตรายที่เจ้าของบ้านจะได้รับ รวมถึงเรื่องลิขสิทธิ์ที่แบรนด์นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์อีกด้วย




การใช้กลยุทธ์นี้ยังเป็นสิ่งที่ได้ผลดีกับแบรนด์ในเวลาอันรวดเร็ว และง่ายดาย แต่…ก็คิดว่า ปี 2021 ที่ผ่านมาได้สอนอะไรให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ไปพอสมควร คาดว่าในปี 2022 แบรนด์ต่าง ๆ จะระมัดระวังในการเล่นคอนเทนต์แนวนี้มากขึ้น ทั้งการเชื่อมโยง ความเหมาะสม และอีกมากมาย

นินจาการตลาด

8. Meta มาแน่ (Metaverse โลกเสมือนจริง)

อันนี้อาจจะดูไกลตัวพวกเราไปสักนิดนะครับ แต่…คุณควรต้องรีบรู้ และรีบทำความเข้าใจไว้  รีบพาตัวเองเข้าไปอยู่ใกล้ ๆ มัน

.

เมื่อปลายปี 2021 ที่ผ่านมา คงไม่มีเทรนด์อะไรที่แรงไปกว่า Metaverse ที่หลังจากมีข่าวออมา ก็เรียกเสียงฮือฮาไปทั่วโลก โลกใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น โลกแห่งเทคโนโลยีดิจิทัล โลกที่จะทำให้เราเข้าไปทำกิจกรรมภายในนั้นได้โดยปราศจากข้อจำกัดเรื่องสถานที่หรือระยะทาง…

ซึ่งความพิเศษของ Metaverse นี้เอง ที่ทำให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook ได้เดินหน้าเข้าสู่โลกเสมือนนี้อย่างเต็มที่ โดยถึงขั้นเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Meta เพื่อให้ดูเข้ากันกับ Metaverse และมันก็สะท้อนให้เห็นถึง การเติบโตของเศรษฐกิจใหม่ภายใต้โลกเสมือนจริง ซึ่งมันเห็นได้ชัดตั้งแต่…

โรคโควิด-19 ระบาด และส่งผลให้มีการล็อกดาวน์กันอย่างทั่วโลก

หลาย ๆ สิ่งเริ่มปรับตัว เริ่มมีการพัฒนาระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อที่จะสามารถพาผู้คนเข้าไปอยู่ในโลก Virtual มากขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยียังเข้ามาช่วยสร้างระบบเศรษฐกิจ สร้างข้อจำกัดของทรัพยากรอย่างเช่น NFT ในระบบบล็อกเชน ที่ทำให้เกิดระบบนิเวศทางทรัพยากร ทำให้โลกเสมือนจริงน่าสนใจและเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

และจะเห็นได้เลยว่า มีการนำเอา Metaverse มาใช้ใน Case ต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการตลาดของเกมที่ในเกมจะมีระบบแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายของที่สร้างรายได้ 

การสร้าง Company Metaverse ที่ให้บริษัทต่าง ๆ สร้างโลกเสมือนของตัวเองขึ้นมาให้ผู้บริโภคเข้ามามีส่วนร่วม เช่น BMW

และ Microsoft จะมีการสร้างแอปพลิเคชันมากมายขึ้นมา เพื่อให้เราได้สร้างโลกเสมือนอีกโลกนึงขึ้นมาในตอนทำงาน เช่น การสร้างตัวอวตาร หรือการปฏิสัมพันธ์ใหม่ ๆ ในการประชุม หรือการทำงานของเราในโลกนั้น

รวมไปถึงแบรนด์ดังหลายแบรนด์ ก็ได้ปรับตัวเข้าสู่โลกเสมือนนี้กันไปแล้วไม่น้อย อย่าง Nike ที่ได้เข้าซื้อกิจการ RTFKT ผู้ผลิตรองเท้าผ้าใบเสมือนจริงในรูป NFT และเตรียมตัวให้บริการที่เชื่อมโยงโลกของกีฬา ความคิดสร้างสรรค์ การเล่นเกม และวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว

นอกจากนี้ ในเชิงการตลาดมูฟเมนต์ที่ผ่านมาที่เริ่มเห็นแล้ว คือ การร่วมมือระหว่าง Facebook Story กับ Ray-Ban เพื่อผลักดันให้เกิดเทคโนโลยี AR มากขึ้น, ในต่างประเทศมีการจัด Virtual Concert ของ Travis Scott ในเกม Fortnite หรืออย่างเคสของ KFC ในจีน ที่สร้าง Pocket Franchise ให้ทุกคนสามารถเปิดร้าน KFC บน WeChat App ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของก้าวต่อไปที่จะมี Virtual Franchise ใน Metaverse

สรุปก็คือ ในอนาคตที่กำลังจะมาถึงเร็ว ๆ นี้ แบรนด์จะเริ่มสร้าง Virtual Evidence มากขึ้น เหมือนกับการทำธุรกิจที่มีหน้าร้านแบบออฟไลน์ ยิ่งปรับตัวไวเท่าไหร่ก็ยิ่งดี ทำมันให้ได้ก่อนใคร เพราะมันจะกลายเป็นพื้นที่ทางการตลาดแห่งใหม่ในอนาคตอย่างแน่นอน

นินจาการตลาด

9. แบรนด์ที่จะอยู่ต้องชูจุดยืน

ในยุคที่สังคมบีบให้ แบรนด์หรือธุรกิจต่าง ๆ แสดงจุดยืนทางความคิดมากขึ้น ซึ่งเรื่องราวที่ว่านั้น คือเรื่องอะไร ผมว่าเราทุกวันคนน่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ มันไม่ใช่แค่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อสังคม (Social Impact) จุดยืนและการแสดงออกถึงประเด็นละเอียดอ่อนของโลก (World’s Tensions) ที่มีอยู่มากมายบนโลกใบนี้

.

 

อย่างเรื่องความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ), เรื่องภาวะโลกร้อน, เรื่องความเท่าเทียมกัน, เรื่องการเหยียดเชื้อชาติ ซึ่งผลกระทบของการแสดงและไม่แสดงออก




เราจะเห็นจากการถูกกดดันด้วยวิธีการที่เรียกว่า Cancel Culture หรือพูดง่ายๆ คือการแบนไม่สนับสนุนหรืออุดหนุนสินค้านั้นๆ อีก

.

ซึ่งทุกวันนี้เป็นแบบนั้นเยอะมาก สังคมออนไลน์นั้นรุงแรงจริง ๆ ทางแบรนด์เองก็ต้องวางแผนการรับมือเอาไว้ หรือการนำเอาจุดยืนเหล่านี้ไปใช้แสดงจุดยืนทางการตลาดเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์ 

.

เป็นไงกันบ้างครับ 9 เทรนด์ จุก ๆ กันไปเลย เริ่มตอนนี้ยังไม่สายนะครับ คว้าเทรนด์ไว้ให้ทัน แล้วคุณจะไม่มีวันหลุดออกจากวงโคจร ใครมีเทรนด์อะไรที่น่าสนใจ ที่คิดว่าปีนี้มันมาแน่!! คอมเมนต์บอกบุญเพื่อน ๆ กันได้เลยครับ

 

 

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

นินจาการตลาด
audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก