fbpx

เทคนิคการทำ Email Marketing ให้ลูกค้าปิ๊ง จนต้องเลิฟ

Email Marketing เป็นอีกหนึ่งเทคนิคการทำการตลาดที่เจ๋งมาก แต่หลาย ๆ คนอาจจะไม่ค่อยรู้กันเท่าไหร่ เอาเป็นว่าถ้าอยากรู้จักก็ตามไปอ่านบทความ “Email Marketing กลยุทธ์สุดทรงพลัง ในการทำการตลาดยุคใหม่” กันก่อน จะได้ไม่งงนะจ๊ะ

แต่ถ้าใครที่รู้จัก Email Marketing แล้ว หรือเคยลองทำแล้ว แต่ลูกค้าก็ยังไม่ค่อยเปิดอ่านอีเมลเราอยู่ดี หรือเปิดแล้วก็ไม่มี action อะไรเลย เหมือนโดนอ่านแล้วไม่ตอบ นี่มันความสัมพันธ์แบบ friend zone ชัด ๆ 55555

.

ที่นี้เราก็อาจจะต้องกลับมาทบทวนตัวเองกันอีกทีว่า เราพลาดอะไร ตรงจุดไหนไปหรือเปล่า ซึ่งวันนี้นินจาการตลาดจะมาเล่าเทคนิคการทำ Email Marketing ให้ลูกค้าปิ๊ง จนต้องเลิฟ ไว้เป็นแนวทางให้ทุกคนได้ลองนำไปปรับใช้กันดู ได้ผลอะไรยังไงบ้าง มาคอมเมนต์บอกกันบ้างเน้อ

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

1. ลิสต์อีเมลมีที่มาที่ไป ไม่ใช่ว่าส่งหาใครก็ไม่รู้

.

ลิสต์อีเมลที่เรามีอยู่ในมือ ต้องรู้ว่าได้มาจากไหน และพวกเขาเป็นใคร เพราะถ้าไปเอามามั่ว ๆ กลุ่มเป้าหมายจากลิสต์อีเมลเหล่านั้น เขาอาจจะไม่รู้จักเรามาก่อน และไม่ได้อนุญาตให้เราส่งอีเมลให้แบบสุ่มสี่สุ่มห้า ถ้าเรายังฝืนที่จะส่งไป โดนเสกให้กลายเป็น Spam แน่นอน เพราะเขาไม่รู้จักเราไง เราส่งอีเมลไปหาก็เท่านั้น เขาไม่สนใจหรอก

.

วิธีแก้ก็คือ ควรมีช่องทางให้เขาส่งความต้องการ หรือยืนยันมาว่า อยากที่จะ subscribe หรือติดตามข่าวสารจากเราจริง ๆ ที่นี้เราก็จะได้กลุ่มเป้าหมายที่มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อส่งอีเมลไปก็จะไม่ถูกรำคาญล่ะ เพราะเขายินดีที่จะรับตั้งแต่แรก โดยที่เราไม่ได้ไปยัดเยียดให้เขาต้องรู้

ลิสต์อีเมลมีที่มาที่ไป ไม่ใช่ว่าส่งหาใครก็ไม่รู้
นินจาการตลาด

2. จะทำอะไรต้องมีเป้าหมายชัดเจน

.

แน่นอนว่าการที่เราจะทำอะไรก็แล้วแต่ เราต้องมีเป้าหมายก่อน ซึ่งถ้าจะให้ดีก็คือ มีเป้าหมายแค่อย่างเดียว แต่ชัดเจนไปเลยดีกว่า สำหรับการส่งอีเมลไปหาลูกค้า ก็ควรจะมีเป้าหมายเช่นกันว่า เราต้องการให้ลูกค้าทำอะไรกับอีเมลที่เราส่งไป เช่น ลูกค้าแค่เปิดอ่านก็พอ ไม่ต้องทำอะไรทั้งนั้น เราแค่แจ้งเตือนข่าวสารหรือข้อมูลดี ๆ ให้รับรู้เฉย ๆ, ต้องการยอดขายจากการส่งโปรโมชันไปให้ ฯลฯ เพราะถ้าเราไม่มีเป้าหมายเพื่อวัดผล เราจะส่งอีเมลไปทำไมล่ะ คงไม่มีใครว่างมานั่งส่งอีเมลเล่น ๆ ใช่ไหมครับ

จะทำอะไรต้องมีเป้าหมายชัดเจน
นินจาการตลาด

3. ชื่อหัวข้ออีเมลต้องกระตุ้นความอยากรู้

.

คนจะคลิกหรือไม่คลิกเปิดอ่านอีเมล ก็อยู่ที่ชื่อหัวข้ออีเมลเนี่ยแหละ หลักการเดียวกับการตั้งชื่อบทความ/ คอนเทนต์เลย เพราะแน่นอนว่าคนที่เห็นเขาไม่รู้หรอกว่า ข้างในมันคืออะไร ดังนั้นสิ่งที่เปรียบเสมือน First Impression ที่จะดึงดูดให้คนมาสนใจและเปิดอ่านก็คือ “ชื่อหัวข้อ” นั่นเอง

.

ยิ่งถ้าใส่ชื่อผู้รับลงไปในหัวข้อด้วยก็จะยิ่งดีเข้าไปใหญ่ เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า เรากำลังคุยกับเขาอยู่ ไม่ใช่พวกข้อความอัตโนมัตินะ ถึงแม้ว่าจริง ๆ มันจะเป็นข้อความอัตโนมัติก็เถอะ แต่คนรับจะมีแนวโน้มเปิดอ่านอีเมลที่มีชื่อตัวเองมากกว่า เพราะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องของตัวเอง (ซึ่ง Email Marketing Service ต่าง ๆ สามารถทำได้ครับ โดยที่เราไม่ต้องมานั่งพิมพ์ชื่อเอง แค่ใส่ code เท่านั้น มันก็จะดึงข้อมูลมาให้)

นินจาการตลาด

4. Value Content ยังจำเป็นอยู่ ถึงแม้ว่า Tools เราจะเทพแค่ไหนก็ตาม

.

มีใครจำเรื่องวงกลมสองวงได้ไหมครับ ที่วงแรกจะเป็นสิ่งที่แบรนด์อยากพูด และวงที่สองเป็นสิ่งที่ลูกค้าอยากฟัง โดยทั้งสองวงมีความคาบเกี่ยวกันอยู่ ซึ่งมันจะมีวงตรงกลางที่เป็นการผสมผสานระหว่างสิ่งที่แบรนด์อยากพูด และสิ่งที่ลูกค้าอยากฟังได้อย่างกลมกลืน นั่นแหละฮะคือสิ่งที่เราต้องนำมาทำคอนเทนต์

.

หากอยากรู้เรื่องนี้แบบเน้น ๆ ตามไปอ่านกันได้ที่บทความ “อยากขายให้ปัง ต้องฟังให้มาก (กว่าพูด)”

นินจาการตลาด

5. ใส่ call to action สักหน่อย

.

ถ้าเราส่งอีเมลไปเพื่อแจ้งข่าวสารเฉย ๆ ก็อาจจะไม่ต้องมี call to action อะไรมากมาย แต่ถ้าเราส่งพวกโปรโมชันต่าง ๆ ไป เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าอยากซื้อ บอกเลยว่าไม่มีปุ่ม call to action ไม่ได้นะ ไม่งั้นความอยากซื้อของลูกค้านั้น จะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป ใครจะไปจำโปรโมชันเราได้ตลอดล่ะ ดังนั้นอย่าลืมหามุมใส่ปุ่ม call to action ไว้สักหน่อยนะ เผื่อลูกค้าสนใจจะได้กดซื้อได้เลย

นินจาการตลาด

6. ทำ A/B Testing อย่างใจเย็น

.

สำหรับใครที่อยากจะเทสต์อีเมลก่อนว่า อีเมลแบบไหนจะได้ใจลูกค้ามากกว่ากัน แนะนำว่าให้ Test ทีละอย่าง เช่น ชื่อหัวข้ออีเมล, เนื้อหาอีเมล ฯลฯ (อย่างใดอย่างหนึ่ง) ค่อย ๆ เทสต์ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องรีบ เพื่อให้ได้ตัวเลือกที่ดีที่สุด อย่างที่โบราณว่าไว้ว่า ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม

.

โดยวิธีการก็คือ สมมุติว่าเรามีผู้ติดตาม (Subscriber) ทางอีเมล 5,000 คน เราอยากจะเทสต์ว่า ลูกค้าเปิดอ่านอีเมลที่ใช้ชื่อหัวข้ออีเมลแบบไหนมากกว่ากัน โดยส่งอีเมลไปหากลุ่มเป้าหมายสองกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มแรก (50 คน) ได้รับอีเมลด้วยชื่อหัวข้อ A และกลุ่มสอง (50 คน) ได้รับอีเมลหัวข้อ B โดยที่เนื้อหาข้างในอีเมลเหมือนกัน หลังจากเทสต์แล้วพบว่า หัวข้อ A ถูกเปิดอ่านอีเมลมากกว่า ค่อยส่งอีเมลไปหาคนที่เหลือ (4,900 คน) ด้วยหัวข้ออีเมล A ทั้งหมด

นินจาการตลาด

7. อย่า Auto Resend พร่ำเพรื่อ เดี๋ยวโดนเบื่อไม่รู้ตัวนะ

.

ข้อดีของ Auto Resend ก็คือ เมื่อเราส่งอีเมลไปหาลูกค้าแล้ว แล้วคนไหนยังไม่ได้เปิดอ่าน เราสามารถตั้งค่าให้มันส่งกลับไปหาคนเดิมได้อีกแบบอัตโนมัติ จนกว่าจะเปิดอ่านเลยทีเดียว แต่ถ้าส่งซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ ลูกค้าคงไม่โอเคแน่ ๆ วิธีแก้คือ เปลี่ยนหัวข้ออีเมลซะ ถ้าจำเป็นจะต้อง Resend จริง ๆ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่ามันไม่ใช่เรื่องเดิมที่เคยส่งไป เผื่อเขาจะยอมใจอ่อนเปิดอ่านครับ

อย่า Auto Resend พร่ำเพรื่อ เดี๋ยวโดนเบื่อไม่รู้ตัวนะ
นินจาการตลาด

สุดท้ายนี้ อย่ามองข้ามช่องทางดี ๆ อย่างอีเมลในการทำการตลาดนะครับ เพราะบางครั้งก็ดูเหมือนว่าจะได้ฟีดแบ็คที่ดี และยั่งยืนกว่าโซเชียลมีเดียซะอีก ยังไงก็อย่าลืมนำเทคนิคเหล่านี้ ไปลองปรับใช้ดูนะ ขอให้สนุกกับการทำ Email Marketing !

.

Cover: Background vector created by freepik – www.freepik.com

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning 2020” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด

และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก