fbpx

Ep.1 – 100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด)

100 ศัพท์การตลาด

ทีมงานจะคุยกับผู้บริหาร หรือผู้ประกอบการคุยกับเอเจนซี่ จะไปได้ดีต้องใช้ภาษาเดียวกัน.

“คุยอะไรกัน ภาษาต่างดาวเหรอเนี่ย”

ถ้าคุณเคยต้องดิวงานด้านการตลาดอยู่ แล้วมีอาการแบบนี้เกิดขึ้นกับคุณ ต้องรีบอ่านเนื้อหาที่นินได้นำมาให้ในวันนี้ทันทีเลยนะครับ

หลายครั้งที่การทำงานด้านการสื่อกสารการตลาดดิจิทัล หรือพูดง่ายๆ ว่าการทำตลาดออนไลน์ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง มีผลมาจากการทำงานที่ไม่เข้าใจกัน ทั้งลูกน้องกับหัวหน้าเอง หรือแม้แต่ตัวเจ้าของกิจการกับเอเจนซี่
.

คนนึงพูดด้วยภาษาการตลาดดิจิทัล อีกคนไม่เข้าใจนัยยะของมัน ซึ่งหลายๆ คำ ไม่สามารถอธิบายได้ในประโยคเดียว บางคำถึงขั้นต้องมีประสบการณ์ทำงานมาก่อนเลยทีเดียว ถึงจะเข้าใจ
.

วันนี้นินเลยขอรวบรวมคำศัพท์การตลาดยุคใหม่ (ดิจิทัล) ที่สำคัญๆ มาเล่าให้พวกเราเข้าใจกัน เพื่อการพัฒนาของกิจการและการทำงานที่ยังยืนด้านการสื่อสารดิจิทัล

นินขอเริ่มจากคำแรกเลยนะครับ

นินจาการตลาด

Impression.

คำนี้ไม่ได้หมายความถึงความรู้สึกที่ดีเมื่อแรกพบนะครับ (First Impression 555) ในความหมายของการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มันหมายถึง “การแสดงผล” 

.

การแสดงผลอะไรน่ะเหรอ คือการแสดงผลของ Ads ที่เราได้ทำการสร้างเอาไว้ ซึ่งมีหน่วยนับเป็น “จำนวนครั้ง”

.

ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ แบบนี้นะครับ ถ้าเราเคยค้นคำๆ นึงใน Google เช่นคำว่า “ตุ๊กตา” แน่นอนครับ จะมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับตุ๊กตาไม่ว่าทางใดทางหนึ่งแสดงผลออกมาให้เราเห็นบนหน้าจอนับไม่ถ้วน (แต่เราคงดูแค่หน้าแรกหน้าเดียว ไม่ค่อยกดไปหน้าอื่นๆ ซึ่งก็คงเห็นได้ราวๆ 10 เว็บ)

อันนั้นแหล่ะครับ เรียกว่าการแสดงผล เว็บต่างๆ ที่โผล่ขึ้นมาแสดงผล นั่นคือ “Impression”

การแสดงผล Impression บน Google

หรือโพสต์ที่เราเห็นบน Facebook ทั้งหลาย นั่นก็หมายถึงมีการแสดงผล หรือ Impression เกิดขึ้นแล้วทั้งสิ้นครับ การแสดงผลนี้ มันคือการที่ Facebook เลือกเนื้อหา หรือ Content นั้นๆ มาแสดงบนมือถือ หรือบน Desktop ให้เราได้เห็นนั่นเอง

นินจาการตลาด

Reach.

คำนี้มีความหมายเป็นภาษาไทยว่า “การเข้าถึง” ซึ่งถ้ามองในฝั่ง Facebook มักจะมาคู่กันกับคำว่า Impression หรือการแสดงผลเสมอๆ
.
แล้วอะไรคือ Reach ล่ะ 
.
Reach จะถูกนับที่ตัวบุคคล (Personal) หรือตัวบัญชี (Account) ที่เข้าถึง Content นั้นๆ เช่น หากเราเล่น Facebook แล้วเห็น Content ของเพจๆ นึง นั่นก็จะเกิดการเข้าถึง หรือ Reach เท่ากับ 1 ครั้ง

.
ซึ่งในจังหวะเดียวกัน Impression ก็เกิดขึ้นด้วย ในกรณีนี้ Impression ก็จะเท่ากับ 1 นั่นเอง

.
แต่ถ้าหากว่า การเห็น Content นั้น ของเพจๆ นี้ เกิดขึ้นเป็นครั้งที่สอง (ย้ำว่าต้องเป็น Content เดียวกันนะ) ถ้าบุคคลคนเดิม หรือบัญชีคนเล่น Facebook คนเดิมเห็น ทั้งหมดก็จะยังคงนับว่าเกิดการ Reach 1 ครั้งอยู่ดี

.
แต่จะมีตัวเลขหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คือ Impression ซึ่งจะกลายเป็นการแสดงผล 2 ครั้ง 
.
หมายความว่าอย่างไร
.
การที่เพจนั้นได้แสดงผล Content เดียวกันซ้ำ ถึง 2 ครั้ง กับบุคคลคนเดียว ก็จะทำให้ค่า Impression กลายเป็น 2 ครั้ง แต่ค่า Reach จะยังคงเท่ากับ 1 เหมือนเดิม เพราะมีเพียงคนที่เห็น Content นี้ นั่นเอง

นินจาการตลาด

Frequency.

คำนี้จะมีตัวเลขออกมาทันทีหากมี Reach และ Impression
.
Frequency ในความหมายภาษาไทยนั้น จะหมายถึง “ความถี่” ที่ Content หรือ Ad นั้นได้แสดงผลออกมากับคนหนึ่งคนที่เข้าถึง ถ้าพูดกันแบบภาษาทางคณิตศาสตร์ ก็คือ มันคืออัตราการแสดงผลต่อการเข้าถึงนั่นเอง
.
Frequency = Impression / Reach
.
ยกตัวอย่างเช่น
.
หากตอนเช้า Ad ของเราแสดงให้คนๆ หนึ่งเห็น อันนี้จะเกิด 
Impression = 1 ครั้ง
Reach = 1 คน
และ Frequency = 1
.
หากตอนบ่าย Ad เดียวกันนี้ไปแสดงให้คนๆ เดิม คนนี้เห็นอีกครั้ง
Impression = 2 ครั้ง (เพราะแสดงผลสองครั้ง)
Reach = 1 คน (เหมือนเดิม เพราะคนเดิมเห็น)
และ Frequency 2 (เห็นซ้ำเป็นครั้งที่สอง)
.
ซึ่งโดยปกติแล้วตัวเลขของ Frequency จะไม่มีทางต่ำกว่า 1 ครับ จะต้องมากกว่า 1 เสมอ โดยระบบ Facebook จะคำนวณผลให้อัตโนมัติ เราสามารถเข้าไปดูได้ที่หลังบ้าน Ad Manager นะครับ
.
ทั้ง Impression, Reach และ Frequency นั้น ถือเป็นศัพท์สำคัญกลุ่มหนึ่งเลยนะครับ ซึ่งทั้งสามคำนี้มักจะต้องมาด้วยกันเสมอๆ และยังเป็นศัพท์ที่นักการตลาดดิจิทัล จำเป็นต้องทำความเข้าใจเป็นอันดับต้นๆ ด้วย 
.
เพราะนี่จะเป็นศัพท์พื้นฐานที่ปูความเข้าใจไปสู่งศัพท์ หรือ KPI สำคัญๆ อื่นๆ ที่ต้องรู้ในการวัดผลการสื่อสารนั่นเอง

.

อีกประเด็นหนึ่งที่หลายคนไม่เคยรู้ หรือเข้าใจผิดมาโดยตลอดคือ 
.
Impression คือค่าตัวเลขที่ Facebook นำมาคิดเงินการยิงโฆษณาของเราด้วย ไม่ได้คิดเงินเราจาก คลิ๊ก หรือจาก ยอดวิว ยอด Comment นะครับ
.
นั่นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเข้าใจศัพท์คำนี้เป็นอย่างดี

.
ส่วนวิธีการคิดเงินเค้าทำอย่างไรนั้น เดี๋ยวนินจะหาโอกาสมาเล่าให้ฟังอีกที

นินจาการตลาด

Organic Reach.

ต่อเนื่องกันเลยครับ กับคำนี้ “Organic Reach” เห็นไหมว่ามีการผสมคำสองคำเข้าด้วยกัน ซึ่งคำว่า Reach เราเข้าใจกันดีอยู่แล้วว่ามันหมายถึง “การเข้าถึง”

.

ส่วนคำว่า Organic ถ้าให้นึกคุ้นๆ คงนึกถึง ผัก ผลไม้ ที่มันไม่มีสารเคมี อะไรๆ ที่เป็นธรรมชาติใช่ไหมครับ

.
Organic Reach ก็คล้ายๆ กันเลยครับ เป็นอะไรที่เกี่ยวกับการเข้าถึง ซึ่งเป็นการเข้าถึงที่เป็นธรรมชาติ ไม่ได้ปรุงแต่งใดๆ คือมีคนเข้าถึงได้แบบปกติ 

.
ที่บอกว่าไม่ได้ปรุงแต่งใดๆ นั้น คำว่าปรุงแต่งก็หมายถึง การกระตุ้นให้เข้าถึงมากขึ้นด้วยการยิงโฆษณานั่นเอง
.

ซึ่งหากว่ามีการเข้าถึงแบบที่ไม่ได้ใช้ตัวช่วยด้วยการยิงโฆษณา การเข้าถึงนี้จะมากจะน้อย ก็ขึ้นอยู่กับเนื้อหา Content ที่เราได้นำเสนอออกมา ถ้าเป็น Content ที่ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย ก็มีโอกาสที่ทำให้การเข้าถึงแบบ Organic มีตัวเลขมากๆ ได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ดีนะครับ

.
เช่นกัน ในทางกลับกัน หาก Content ที่เราทำเสนอนั้นเป็น Content ที่ไม่ได้ทำให้กลุ่มเป้าหมายชอบนัก ก็จะทำให้การเข้าถึงแบบ Organic มีตัวเลขที่ต่ำด้วย

นินจาการตลาด

Paid Reach.

อีกคำที่มาคู่กันกับ Organic Reach ก็คือคำนี้ คำว่า Paid Reach อีกประเภทหนึ่งของการเข้าถึง 

.

การเข้าถึงแบบจ่ายเงินนั่นเอง การเข้าถึงแบบนี้ เป็นการเข้าถึงที่ต้องใช้แรงกระตุ้น ในการทำให้ Content ของเราไปแสดงผลให้กับผู้คนต่างๆ ให้มากขึ้น มักจะใช้เสมอ หากต้องการจำนวนผู้เข้าถึงมากๆ โดยที่อาศัยแค่ Organic Reach อย่างเดียวไม่ไหว
.
พูดง่ายๆ คือ เมื่อเราทำการยิงโฆษณาบน Facebook ก็จะมีค่าตัวเลขการเข้าถึงแบบเสียเงิน หรือ Paid Reach ให้เห็นทันที

รูปข้างบนนี้ จะเป็นตัวอย่างของ Content 2 แบบ คือแบบ ธรรมชาติ (ออร์แกนิก) และแบบ ชำระเงิน
.
สรุปง่ายๆ ว่า Organic Reach เกิดขึ้นเสมอเมื่อมีการแสดงผลออกไป แต่จะไม่มี Paid Reach หากไม่ได้มีการยิงโฆษณา

 

นินจาการตลาด

%CTR​ (Click Through Rate).

คำนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำที่นักสื่อสารการตลาดยุคใหม่ต้องรู้จัก 
.
จะว่าไปก็เหมือนเป็น KPI ตัวหนึ่งที่นักการตลาดดิจิทัลนิยมใช้วัดค่าและนำมาวิเคราะห์กันเสมอๆ 
.
%CTR หรือคำเต็มๆ มาจากคำว่า Click Through Rate ซึ่งแปลเป็นไทยว่า “อัตราการคลิกผ่าน” แล้วมันคืออะไร มีความสำคัญยังไง ดูไปเพื่ออะไร มาอ่านกันต่อนะครับ
.
อัตราการคลิกผ่าน คือการเข้าใจผลลัพท์ของ Ads นั้นๆ ครับ ว่ามีคุณภาพมากน้อยขนาดไหน โดยเอาจำนวนการคลิกบน Ads นั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะคลิกตรงไหนก็ตาม เช่น คลิกดูภาพ คลิกปุ่มอ่านเพิ่มเติม.. ฯลฯ ถือเป็นการคลิกทั้งหมด (เฉพาะบน Facebook นะครับ) 
.
โดยหลักแล้ว ถ้าคลิกเยอะก็คือดีถูกไหมครับ เพราะมีคนมาสนใจ Ads ของเรามาก เลยเกิดการคลิกเยอะ แต่ดูว่าจำนวนการคลิกทั้งหมดกี่ครั้งเนี่ยมันไม่พอครับ เพราะถ้าการคลิกที่เกิดขึ้นนั้น บางครั้งอาจต้องใช้เงินยิงโฆษณาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ถึงแม้จะไม่ได้ใช้เงินก็ตามแต่ เป็นการแสดงผลแบบปกติที่ไม่ได้ถูกดันก็ยังต้องดูค่านี้อยู่ดี
.
ทีนี้มันดูยังไง นินขออธิบายให้เข้าใจแบบนี้นะครับ ลองนึกภาพตามนินว่า มี Content อยู่ 2 ตัว ตัวแรกมีการคลิกผ่านรวมแล้ว 1,000 ครั้ง ส่วน Content ที่สอง  มีการคลิกผ่านรวม 1,000 ครั้งเท่าๆ กัน ซึ่งถ้าดูเผินๆ ก็เหมือนกับว่า มันจะมีคุณภาพเท่ากันเลย ถูกไหมครับ ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ทำไมนินถึงบอกว่าดูแค่ตัวเลขการคลิกอย่างเดียวอาจจะไม่พอ เลยมีการเอาตัวเลขการคลิกมาเทียบตัวเลขอีกตัวหนึ่งเพื่อหาเป็นอันตราส่วนที่เทียบในเชิงคุณภาพได้ชัดเจนขึ้น
.
ตัวเลขนั้นก็คือ ตัวเลยการแสดงผล หรือ Impression นั่นเอง นี่แหล่ะ ที่นินเคยบอกเอาไว้ว่า Impression นั้นสำคัญ และเป็นตัวที่ไว้สำหรับเป็นตัวตั้งตนเพื่อดูค่าต่างๆ ของการสื่อสารการตลาด และ CTR เป็นหนี่งในนั้นด้วยครับ
.
ดังนั้น เราจึงเอาจำนวนการคลิกมาเทียบกับจำนวนการแสดงผลทั้งหมดที่เกิดขึ้น ถ้า Content แรก มีการแสดงผล 10,000 ครั้ง %CTR จะเท่ากับ
.
1,000 / 10,000 x 100 = 10%
.
ส่วน อีก Content ที่มีจำนวนการคลิกเท่าๆ กัน แต่กลับมีจำนวนการแสดงผลถึง 100,000 ครั้ง ค่า %CTR จะเท่ากับ
.
1,000 / 100,000 x 100 = 1%
.
พอมีการคำนวณเทียบกันอย่างนี้แล้ว จะเห็นได้เลยว่า Content แรกนั้น มีตัวเลขอัตราส่วนที่สูงกว่ามาก ซึ่งถ้าหากการแสดงผลที่เกิดขึ้นของ Content ทั้งสอง มาจากการยิงโฆษณา ก็จะเห็นเลยว่าจะประหยัดเงินค่าโฆษณามากกว่าถึง 10 เท่า (เพราะการยิงโฆษณาบน Facebook จะคิดเงินตามจำนวน Impression)

นินจาการตลาด

Engagement.

มาถึงคำที่ 7 กันแล้ว กับคำว่า Engagement ที่แปลเป็นภาษาไทยว่า “การมีส่วนร่วม” ซึ่งเป็นสิ่งที่แบรนด์ที่ทำการสื่อสารการตลาดมีความต้องการให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะหากการมีส่วนร่วมเกิดขึ้น มันคือการสะท้อนว่าความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์นั้นได้เกิดขึ้นแล้ว ที่นี้ก็อยู่ที่ว่ามันเป็นการมีส่วนร่วมในเชิงบวกหรือเป็นการมีส่วนร่วมในเชิงลบ
.

คำนี้ ถ้าใน Facebook จะหมายถึง 3 สิ่งนี้ครับ คือการกด Like การตอบ Comment และการกดแชร์ 
.
แน่นอนครับว่า ถ้ายิงมีจำนวน Engagement มากๆ ยิ่งดีต่อแบรนด์แน่นอนครับ แล้วยิ่งในการคำนวณของ Social Media ด้วยแล้ว ยิ่งมีการ Engagement มาก ก็ยิ่งทำให้ Content มีโอกาสไปเข้าถึงผู้คนได้อีกมาก โดยที่ไม่ต้องเสียเงินเลย
.
ถ้าอยากได้ ต้องทำ Content ให้ดีนะ…

นินจาการตลาด

Awareness.

เปลี่ยนแนวจากศัพท์ที่เป็นศัพท์จำพวก KPI การวัดผล มาเป็นแนวอื่นๆ กันบ้างครับ กับคำนี้ คำว่า Awareness ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า “การรับรู้” นั่นเอง
.
การรับรู้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งศัพท์คลาสสิค ที่ไม่รู้ไม่ได้ หากจะคิดเป็นนักการตลาด หรือแม้แต่แค่เพียงคิดอยากให้ทำเรื่องการตลาด ถึงแม้จะให้คนอื่นทำให้ก็ตาม คำๆ นี้เป็นคำที่ถูกพูดถึงบ่อยที่สุด แต่กลับเป็นคำที่คนเข้าใจผิดมากที่สุดคำหนึ่งเลยทีเดียว

ภาพข้างบนเป็นภาพของ Funnel การตลาดทั่วไป ที่นักการตลาดใช้ในการพูดถึงกัน ซึ่ง Awareness ถือเป็น Funnel แรกของการได้มาถึงลูกค้าที่จะเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา 
.
ไม่ว่าจะขายอะไร ขั้นแรกก่อนขายได้ ต้องให้ลูกค้ารับรู้ก่อน รับรู้ถึงการมีตัวตนของเราว่าเป็นสินค้าที่พร้อมจะให้ลูกค้าได้นำไปใช้แก้ปัญหาชีวิตหรือยกระดับชีวิตให้ดีมากขึ้น หากว่าชีวิตทุกวันนี้เป็นปกติดีอยู่แล้ว
.
สิ่งที่ SME ส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดกันอย่างมากก็คือ คิดว่าการนำเอา Content ที่พูดถึงสเปกหรือรายละเอียดสินค้านั้นเป็นการสร้าง Awareness แบบสมบูรณ์ ซึ่งจริงๆ แล้วถือว่าเข้าใจผิดอยู่มากเลยทีเดียว เพราะการสร้าง Awareness ให้เกิดขึ้นได้นั้น ไม่ใช่การยัดเยียดนำเสนอคุณสมบัติที่พยายามทำให้ลูกค้าเชื่อได้ว่ามันจะช่วยพวกเค้าได้
.
แท้จริงแล้ว การสร้าง Awareness ที่ดี ควรจะต้องพูดถึงสิ่งที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้นๆ คิดก่อนเสมอ แล้วค่อยย้อนกลับมาพูดถึงตัวสินค้าแบบไปด้วยกันได้ ไม่ขัดแย้งกับสิ่งที่บอกลูกค้าในประโยคแรกๆ 
.

การนำเสนอสินค้าเลยแต่แรก ก็คือการพูดถึงแต่เรื่องของแบรนด์เองโต้งๆ แบบไม่แคร์ลูกค้าเลยนั้น ส่วนใหญ่มักจะไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนักจากลูกค้า หากเป็น Content ที่โพสต์ออกไปทำนองนี้ ก็มักจะไม่ได้รับการตอบสนองในเชิงการมีส่วนร่วมเท่าไหร่นัก
.
แต่กลับกัน SME ที่ฉลาด มักจะใช้ Content ที่สื่อสารกับลูกค้าในรูปแบบที่พูดถึงแต่เรื่องที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้นกำลังคิดถึงอยู่ แล้วค่อยเชื่อมโยงเรื่องนั้นกลับมาสู่เรื่องราวของสินค้าที่ต้องการจะสื่อสารได้อย่างแยบยน และแนบเนียน
.
ถึงแม้การสร้าง Awareness นั้นเป็นสิ่งที่ยาก แต่ถ้าเข้าใจก็ยั่งยืน

นินจาการตลาด

Consideration.

ศัพท์คำถัดมาเป็นศัพท์ที่ต่อเนื่องกันมากับ Awareness นั่นก็คือคำว่า Consideration ขั้นที่ถัดมาจากการรับรู้ของลูกค้าแล้ว เป็นขั้นที่แบรนด์มีความต้องการให้เราเป็นหนึ่งในตัวเลือกของลูกค้า เมื่อถึงจังหวะที่ต้องการสินค้าและบริการในประเภทที่เราขายอยู่
.
โดยในความหมายภาษาไทยนั้น คำว่า Consideration แปลว่า “การพิจารณา” 
.
อยากให้ลองนึกภาพตามนินแบบนี้นะครับ หากพูดถึงยี่ห้อรถยนต์ที่เราชอบ มียีห้อไหนบ้างที่เราจะนำมาเป็นตัวเลือกในการตัดสินใจซื้อ 
.
บางคนมีสามถึงสี่ยี่ห้อ บางคนมีมากกว่านั้น ก็แล้วแต่ว่าการรับรู้ของแต่ละคนกับยี่ห้อนั้นๆ มีมากน้อยแค่ไหน และมีความประทับใจหรือจดจำมาได้มากน้อยแค่ไหน
.
ซึ่งการที่จะเกิด Consideration ได้นั้น ต้องอาศัยการสร้างการรับรู้มาสักระยะหนึ่ง หรืออาจจะไม่ต้องนาน แต่มันกระแทกใจ ให้รู้สึกประทับใจได้เร็ว ก็เป็นไปได้เช่นกัน

การพิจารณา

หากเกิด Consideration ขึ้นในใจลูกค้าแล้ว โอกาสในการที่เราจะได้ขายสินค้านั้นจะมีสูงมากกว่าแค่ Awareness แต่ก็ยังคงต้องแข่งขันกับคู่แข่งรายอื่นๆ ที่ขายสินค้าที่ลูกค้านำมาเป็นตัวเลือกเพื่อพิจารณาเพิ่มอีกนะครับ
.
โดยทั่วไปแล้ว หลักในการทำให้ลูกค้าเกิดการพิจารณาเราได้นั้น มักจะต้องทำให้เกิดการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ เพราะจะทำให้ลูกค้าจดจำ ตอกย้ำในใจลงไปอีก ซึ่งหากการสร้างการมีส่วนร่วมเกิดขึ้นได้กับลูกค้า โอกาสการปิดการขาย แล้วเรากลายเป็นตัวเลือกอันดับหนึ่งก็มีอยู่สูง ถึงแม้บางทีสเปกสินค้าของเราอาจจะสู้คู่แข่งไม่ได้ ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ไป กับแบรนด์ที่สร้างการมีส่วนร่วมได้ดีมากๆ

นินจาการตลาด

Conversion.

มาถึงคำสุดท้ายกันแล้วนะครับ กับคำนี้ครับ Conversion ที่นินเองก็ไม่รู้จะแปลความหมายเป็นภาษาไทยว่าอย่างไร เพราะส่วนใหญ่ก็เห็นนักการตลาดเรียกคำนี้แบบทับศัทพ์กันไปเลยทั้งนั้น แม้แต่คำแปลที่อยู่ใน Facebook Ads Manager ก็ยังเขียนเป็นภาษาไทยว่า “คอนเวอร์ชั่น” แบบทับศัทพ์ไปอย่างนี้เลย
.

Conversion อยู่ใน Funnel ปลายๆ ครับ เป็นขั้นที่นักการตลาดต้องการให้เกิดมากที่สุดขั้นหนึ่ง เพราะนั่นหมายถึงผลสัมฤทธิ์ที่วัดออกมาในระดับธุรกิจได้เลย เพราะนั้นคือยอดขายที่เป็นตัวเงินจริงๆ ที่เกิดมาจากการวางแผนกลยุทธ์ที่ผ่านมา
.
Conversion เองจริงๆ แล้วก็ไม่ได้หมายถึงการปิดการขายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ก็อาจหมายถึงการเกิดการกระทำอะไรบางอย่างของลูกค้าก็ได้ เช่น การลงทะเบียน เป็นต้น อย่างนี้ก็ถือเป็น Conversion แบบหนึ่งได้เช่นกันครับ

จากภาพข้างบน เป็นภาพของการเลือกวัตถุประสงค์การยิงโฆษณาบน Facebook Ads Manager ซึ่งจะเห็นได้ว่า Facebook ได้แบ่งวัตถุประสงค์ออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
Awareness, Consideration และ Conversion
.
ซึ่งถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว จะเห็นภาพชัดเจนมากขึ้นได้เลยว่า เราควรเลือกการยิงโฆษณาแบบไหน ให้เหมาะกับขั้นของ Funnel ที่เราต้องการ
.
ถ้าเพิ่งเริ่มเปิดเพจใหม่ๆ เพิ่งเริ่มสื่อสารกับลูกค้า ก็จำเป็นต้องสร้าง Awareness (การรับรู้) ก่อน ซึ่งนินก็แนะนำให้ใช้วัตถุประสงค์ในการยิงโฆษณาในกลุ่ม Awareness มากหน่อย
.
หากเริ่มมีผู้ติดตามมากขึ้นแล้ว การใช้วัตถุประสงค์ในกลุ่ม Consideration (การพิจารณา) ก็ควรต้องนำมาใช้มากขึ้นนะครับ เพื่อให้ลูกค้าเกิดปฏิสัมพันธ์กับเพจให้มาก ซึ่งอาจจะได้เป็น Lead ออกมาให้เราได้ปิดการขายง่ายขึ้นเลยทีเดียว
.
ส่วนวัตถุประสงค์การยิงโฆษณาแบบ Conversion ก็จะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับเพจที่ได้สร้าง Lead เก็บไว้มากพอระดับหนึ่งแล้ว จึงเริ่มใช้การยิงโฆษณาด้วยวัตถุประสงค์กลุ่มนี้ ก็จะทำให้ได้เป้าหมายมากกว่าการใช้วัตถุประสงค์กลุ่มอื่นๆ
.
เรื่องนี้นินจะหาโอกาสมาเล่าลึกๆ ทีหลังนะครับ
.

สำหรับใครที่อยากเรียนรู้เรื่องนี้แบบการฟังการอธิบาย จาก อ.ออดี้ ก็สามารถรับชมรับฟังผ่านคลิปที่ อ.ออดี้ได้ LIVE เอาไว้ ได้เลยนะครับ
.
ในรายการทุ่มวันพุธติดอาวุธการตลาด ที่เพจนินจาการตลาด
.
ตอน “100 ศัพท์ต้องห้าม (พลาด) สำหรับนักการตลาดในยุคดิจิทัล Ep.1”

ได้เรียนรู้ศัพท์การตลาดดันไปเบื้องต้นกันถึง 10 ตัวเลยครับสำหรับ Blog นี้ ติดตามนินจาการตลาดไว้นะครับ จะเอามาฝากเพิ่มเร็วๆ นี้

อ.ออดี้-กิตติชัย นินจาการตลาด

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้-กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

นินจาการตลาด
audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก