fbpx

4 ข้อกังวลและทางแก้ของธุรกิจยุคเดิม เมื่อจะก้าวสู่ Digital

รู้หรือไม่ว่า... . การเริ่มทำธุรกิจออนไลน์จากคนยุคเก่าที่ทำธุรกิจออฟไลน์เดิมอยู่แล้ว ได้เปรียบกว่าธุรกิจจากคนยุคใหม่ ที่เริ่มต้นใหม่ด้วยการพึ่งพิงออนไลน์อย่างเดียวแบบ 100% ถ้าคุณอยู่ในจุดที่ขาย Offline แล้วกังวลกับการก้าวเข้ามาสู่การขาย Online อยู่.

นินจาการตลาด

ฟังผมนะครับ.
.

ผมเคยเจ็บใจมาแล้วที่เคยตั้ง Mindset ผิด และไม่เริ่มลงมือลุย Online อย่างตั้งใจสักที จนเสียโอกาสดีๆ ไปมากมาย
.
ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่น่าจดจำเรื่องหนึ่งของการทำธุรกิจเลยทีเดียว ซึ่งวันนี้จะมาเล่าให้ฟังโดยแบ่งให้เป็น 4 เรื่องที่มักจะเป็นข้ออ้าง ข้อกังวล หรือข้อปัญหาที่ SME เหล่านั้นมีในใจ

นินจาการตลาด

1. ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรเยอะเลย กลัวจะได้ไม่คุ้มเสีย.

.

เอาจริงๆ นะธุรกิจที่มี Process ธุรกิจเดิมอยู่แล้ว ใช้มาหลายๆ ปีแล้ว นี่แหล่ะที่ได้เปรียบกว่าธุรกิจเกิดใหม่ของคนรุ่นใหม่ที่เน้นออนไลน์ทันทีเลย

.

เพียงแค่ต้องทำความเข้าใจ Channel ใหม่ที่มีอยู่เยอะมากในตอนนี้ อย่างช่องทางการตลาดออนไลน์ให้ถ่องแท้เท่านั้นเอง

.
บางกิจการ ปรับหรือเพิ่มแค่บางกระบวนการ ก็รุ่งพุ่งแรงแล้ว
.

ยกตัวอย่าง
.

เพิ่มเว็บไซต์ ปรับเนื้อหา จากที่เคยมีแต่เซลถือโปรชัวรไปขายของ แล้วทำไมไม่เอาข้อมูลในโบร์ชัวร์ หรือจากการอธิบายของเซลที่พูดอยู่เป็นประจำ ไปลงเว็บซะล่ะ..?
.

แค่นี้เราก็สามารถจะดักลูกค้าบางรายที่ค้นเข้ามาเจอเราได้แล้ว ซึ่งทำให้ดี เผลอๆ จะได้ใจลูกค้าไปก่อนล่วงหน้าด้วยซ้ำ ล่วงหน้ายังไง ก็ล่วงหน้าก่อนที่เซลจะไปพบ แต่ลูกค้ามีความคุ้นเคยกับแบรนด์แบบไม่ทันได้รู้ตัวเองด้วยซ้ำไง
.

เคล็ดลับที่ผมอยากจะเล่าให้ฟังอันนึง ลองเอาไปใช้เลยครับ ไม่หวงด้วย ขอบอกว่าช่วยทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นๆ ในแต่ละเดือนที่เลื่อนผ่านไปเลยครับ (แต่ต้องทำอย่างจริงจังนะครับ)
.

สิ่งที่อยากให้ก็คือ หากมีคำถามจากลูกค้าที่ถามคำถามต่างๆ เกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรามา แล้วคำถามเหล่านั้น เป็นคำถามที่ซ้ำๆ ในเรื่องเดิมๆ อยู่เรื่อยๆ สิ่งที่ควรทำเป็นอย่างยิ่งเลยก็คือ จงไปนำเอาคำอธิบายที่คุณหรือทีมงานคุณได้อธิบายให้ลูกค้าฟังเป็นฉากๆ เหล่านั้น ไปเขียน Content ลงเว็บ หรือ Facebook ซะ ให้เป็นเนื้อหาในเชิง Educate ไปเลย

.
สิ่งที่คุณจะได้มีอยู่หลายประการเลยครับ เช่น เวลามีใครมาถามคำถามนี้อีก ก็เอาลิงค์เว็บส่งไปให้เค้าเลยครับ อาจจะอธิบายเบื้องต้นเล็กน้อย แล้วจบท้ายว่า มีข้อมูลน่าสนใจให้อ่าน ถ้าต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ยิ่งหากเป็นลูกค้าที่คุยกันทางออนไลน์อย่าง Facebook Inbox หรือ LINE@ แล้ว ยิ่งดีเลยคับ เพราะส่งง่าย และลูกค้าเองก็พร้อมอ่านอยู่แล้วจากพฤติกรรมที่ใช้ออนไลน์มาทักคุย
.
ยิ่งมีการกดเข้าไปดูหน้านั้นๆ เพื่ออ่านข้อมูลบ่อยๆ ยิ่งทำให้เว็บเรามีโอกาสการติดอันดับ SEO อีกด้วย
.

นอกจากนี้ เนื้อหาเหล่านั้น จะกลายเป็นเนื้อหาที่ช่วยทำให้ทีมงานในองค์กรธุรกิจของคุณเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวมากขึ้นอีกด้วย เพราะเนื้อหาที่ลงอยู่ในเว็บไซต์สามารถกลายเป็นเนื้อหาที่ให้พนักงานต่างๆ ทั้งใหม่และเก่า เข้าใจภาพเดียวกันได้อย่างดีเยี่ยม
.

เข้าข่ายสุภาษิตที่ผมแต่งขึ้นมาเองอันนี้เลย “จับปลามือเดียว ได้นกสามตัว…” คือทำเรื่องหนึ่งเล็กๆ ด้านเดียว แต่ไปได้ประโยชน์อีกหลายๆ เรื่อง ที่ไม่คิดว่ามันจะเกี่ยวข้องกัน…
.
เชื่อดิ่ สิ่งดีๆ เกิดขึ้นแน่นอน หากทำตามที่แนะนำ ทั้งยอดขาย และทีมงานที่เข้มแข็ง

นินจาการตลาด

2. ไม่รู้จะเอา Content อะไรมาเสริฟกลุ่มเป้าหมายดี.

.

พนักงานขายหรือพนักงานเก่าๆ เก๋าๆ เก่งๆ ที่คุณมีอยู่… เหล่านี้คือผู้ผลิต Content ตัวพ่อของแบรนด์เลย
.

ยอมรับกันใช่ไหมว่า ยุคนี้เป็นยุคที่ SME อย่างเราๆ ต้องเป็นผู้ผลิตเนื้อหาป้อนเข้าสู่ออนไลน์ ยิ่งใครมีเนื้อมากๆ และมีความถี่มากพอ (เนื้อหาต้องดี มีประโยชน์ด้วยนะ) ก็จะทำให้ครองใจผู้บริโภคได้ แบรนด์ถูกจดจำ และมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการสื่อสารการตลาดมากด้วย
.

ซึ่งนั่นก็เป็นปัจจัยหลัก ที่กลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของกิจการที่จะใช้เครื่องมือทางการสื่อสารการตลาดดิจิทัล จะใช้เป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดการติดตามและยอดขายของกิจการในช่องทางนี้ด้วย
.

ซึ่งปัญหาใหญ่เรื่องหนึ่ง ที่กิจการยุคเดิมติดกันมากๆ เลยก็คือ ปัญหาที่ไม่รู้ว่าจะเอา Content ที่ไหนมาเสริฟให้กับกลุ่มเป้าหมายได้เสพกัน
.

โดยลืมมองไปว่ากิจการของเรา ยิ่งผ่านร้อนผ่านหนาวมานานมากเท่าไหร่ ยิ่งผ่านการเก็บเกี่ยวประสพการณ์ความรู้มามากขึ้นเท่านั้น
.

เช่น ช่างซ่อมรถยนต์บางคน แค่เพียงแต่ได้เห็นรถขับเข้าอู่มา แล้วได้ยินเสียงเครื่องยนต์ที่ดังผิดปกติไปเล็กน้อยขณะขับเข้ามาโดยที่ยังไม่ทันได้จอดสนิทดี ก็สามารถประเมินได้เลยว่า รถคันนี้มีอาการอะไร และต้องจัดการกับมันได้อย่างไร ได้อย่างน่าอัศจรรย์
.

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องพื้นฐานที่ SME ส่วนใหญ่มองข้ามไปจริงๆ คิดแต่เพียงว่ามันน่าจะเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็รู้ทั้งหมดแล้ว ไม่น่าจะมีใครอยากฟัง อยากสนใจ หากนำเอามันมาทำเป็น Content
.

ทั้งๆ ที่จริงแล้ว นั่นจะกลายเป็นมุมมองความรู้ที่ดีมากๆ สำหรับกลุ่มเป้าหมายของกิจการของเรา
.

“เรื่องธรรมดาๆ ที่เราคิดว่าไม่สำคัญอะไรมาก อาจกลับกลายเป็นเรื่องยิ่งใหญ่สำหรับใครบางคน”

สร้าง Content ดีๆ จากความเก๋าของทีมงานรุ่นเก่า

เรื่องนี้บอกได้เลยครับว่า ธุรกิจเกิดใหม่ไม่มีสิ่งนี้ ถ้ามีก็คงต้องใช้ต้นทุนในการได้มาที่มากกว่าธุรกิจยุคเก่าๆ อย่างเรา
.

ดังนั้นแล้ว จุดแข็งของกิจการออฟไลน์ที่เคยแต่ค้าขายผ่านหน้าร้าน หรือพนักงานขาย หรือทางโทรศัพท์ นั้น มีอยู่กระจายทั่วไปในแผนกต่างๆ ของสำนักงาน เพียงแต่เราต้องรู้จักมองหามัน และมองให้ออกมาเป็น Content ให้ได้

นินจาการตลาด

3. ยอดค้าง Stock ขายไม่ออก ไม่รู้จะระบายอย่างไร.

.
มองว่าเป็นปัญหามันก็จะเป็นปัญหาต่อไปนะ ถ้ามองให้ดีๆ ก็สื่อออนไลน์นี่แหล่ะ เป็นแหล่งระบายสินค้าชั้นดีแห่งหนึ่งเลยทีเดียว เพราะมีคนที่เป็นลูกค้ารอเราอยู่เยอะเต็มไปหมด เพียงแต่เราต้องหาให้เจอเท่านั้นเอง ซึ่งเดี๋ยวจะเล่าให้ฟังต่อในข้อที่ 4 นะ สำหรับเรื่องการหาลูกค้า

.
ถ้ามองในแง่ดีตรงนี้ ในฐานะของผู้ขายสินค้าเราจะมีโอกาสรับเงินสดเข้าธุรกิจได้มากเลยทีเดียว หากการระบายสินค้า Dead Stock บนโลกออนไลน์ทำได้สำเร็จ
.

เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากเกินไปสำหรับ SME อย่างเราๆ นะครับ ที่จะนำเอาสินค้าที่มีใน Stock ไประบายผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งผมเองไม่อยากให้มองประเด็นเรื่องของการลดราคามาเป็นสิ่งดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาซื้อจนมากเกินไปนะครับ แต่สิ่งที่ควรต้องมองให้มากๆ และต้องทำให้เกิดขึ้นให้ได้ คือ เรื่องของการสื่อสารให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมาย 
.
ของที่เราจะระบายขาย มีคนอยากได้อยู่เสมอ แต่ต้องหาให้เจอ และช่องทางออนไลน์เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้คุณหาเจอเร็วกว่าช่องทางอื่นๆ
.
เริ่มต้นจากการสร้างฐานลูกค้าบนออนไลน์ขึ้นมาก่อนด้วย Content ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้วิธีการตามข้อ 2 ซึ่งเป็นต้นทุนที่ดีของ SME อย่างเราๆ อยู่แล้ว กับพนักงานหรือทีมงานเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยองค์ความรู้หลายหลาก และลึกซึ้ง ขอให้นำมันมาเล่าและสื่อสารกับลูกค้าให้ได้ดีเถอะ
.
ถ้าพูดได้ตรงใจลูกค้ามากพอ ยังไงก็มีคนสนใจ 
.

   สุดยอดเทคนิคคลาสสิค-สกิดต่อมซื้อของลูกค้า

   สร้าง Content การขายด้วย FAB-Tree Diagram

 

“ยิ่งเก่า ยิ่งเก๋าประสบการณ์” ลองนั่งคุยกันดูครับกับทีมงาน แล้วลองมาวางกลยุทธ์การเขียน Content ดู อาจจะนำมาสื่อสารในมุมไหนก็ได้ที่สร้าง Awareness (การรับรู้) ทั้งมุมให้ความรู้ (Educate) หรือมุมที่ให้ความบันเทิง (Entertain)
.
หากสามารถสร้างการสื่อสารรับรู้ได้ดีมากพอ ของใน Stock ที่ค้างอยู่ ก็อาจจะไม่พอขายเลยก็ได้

นินจาการตลาด

4. จะหาลูกค้า Online มาจากไหน

.

อันนี้เป็นปัญหาและเป็นคำถามยอดฮิตของ SME ที่พยายามจะก้าวเข้ามาขายสินค้าผ่านช่องทาง Online เลย
.

ต้นทุนหนึ่งที่เป็นข้อได้เปรียบของ SME กลุ่มนี้ก็คือ เรามักจะมีการเก็บข้อมูลรายชื่อลูกค้าไว้อยู่เป็นจำนวนมาก ทั้งซื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร และอีเมล์ แต่ไม่เคยนำมาใช้ประโยชน์ในการสื่อสารการตลาดออนไลน์เลย
.
เต็มที่..ก็ได้แต่ส่งอีเมล์ไปแจ้งข่าวสารหรือโปรโมชั่นต่างๆ ให้กับลูกค้าตามฐานข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งจริงๆ เท่านี้ก็ถือว่าดีมากแล้วนะคับในมุมการสื่อสาร แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้ในมิติที่เค้าชอบฝังตัวอยู่เสมอๆ อย่างเช่นใน Social Media อย่าง Facebook

.
คุณรู้หรือไม่ครับว่าโลกดิจิทัลออนไลน์นั้น การที่คุณมีรายชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร และอีเมล์ มากในปริมาณหนึ่ง คุณสามารถทำการสื่อสารการตลาดเชิงรุกโดยการใช้เครื่องมือบนโลกดิจิทัลได้เลย
.
เช่น เครื่องมือหนึ่งใน Facebook ที่เรียกว่า Custom Audience 

.

เราสามารถนำเอาข้อมูลลูกค้าของเรามาให้ Facebook ช่วยคัดกรองออกมาเป็นผู้ใช้งาน Facebook ได้ และเมื่อคัดออกมาได้แล้วนั้น กลุ่มคนเหล่านั้นจะกลายเป็นผู้ที่เราสามารถที่จะส่งโฆษณาที่เหมาะสมไปคอยแสดงผลให้เค้าได้ตลอดเวลา ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกวางกลยุทธ์การสื่อสารแบบไหน ให้เหมาะกับลูกค้ากลุ่มนั้นๆ ส่งได้อย่างพอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อย และไม่ดูเป็นการรบกวนจนเกินไป
.
อยู่เฉยๆ ก็ไม่ได้ยอดนะ ทำอะไรสักอย่างเถอะ อย่างที่แนะนำไปก็ได้ผลดีมากทีเดียว

.
Facebook สามารถรับไฟล์ CSV หรือ จะคัดลอกข้อมูลส่งให้ Facebook ในการคัดกรองก็ได้ ซึ่งได้ทั้ง ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร อีเมล์ ที่อยู่ ฯลฯ โดย Facebook จะทำการค้นหาผู้คนที่มีข้อมูลตรงกับข้อมูลที่เราส่งให้ หากตรงก็จะได้ก้อน Audience มาก้อนนึง ซึ่งรู้แต่จำนวนนะ แต่ไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นใครบ้าง
.
เช่น โยนข้อมูลลงไปให้ Facebook คัดเลือก 5,000 รายชื่อ ซึ่งในนั้นมีทั้ง ชื่อ นามสกุล เบอร์โทร ที่อยู่ ฯลฯ ผลที่ออกมาอาจมีแค่เพียง 2,000 คนเท่านั้น (จะมากน้อยก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีนั้น ตรงกับส่ิงที่ลูกค้าได้เคยให้ข้อมูลกับ Facebook แค่ไหน) ที่จะกลายเป็น Audience ที่สามารถยิงโฆษณาสื่อสารกลับไปได้

ไฟล์ลูกค้า ช่วยประหยัดต้นทุนการโฆษณา หนึ่งในเครื่องมือ Custom Audiende ของ Facebook

ซึ่งนั่นเราเรียกมันว่า Custom Audience (ประเภทไฟล์ลูกค้า)
.
ลองคิดเล่นๆ ในใจนะครับ หากสมมติว่า เราใช้เงิน 40 บาท สามารถที่จะเข้าถึงผู้คนด้วยการโฆษณาได้ 2,000 คน คุณจะเลือกใช้วิธีการตั้งค่าโฆษณาแบบไหน

.
1. เลือกกลุ่มเป้าหมายใหม่ จาก เพศ อายุ พื้นที่ ความสนใจ ที่ Facebook มีฟังก์ชั่นนี้ให้ใช้ในการเช็ตโฆษณาระดับชุดโฆษณา (Ad set) ซึ่งเงิน 40 บาทข้างต้นนั้น สามารถเข้าถึงผู้คนที่เราเลือกไว้ได้ 2,000 คน

.
2. ยิงโฆษณาไปยัง Custom Audience 2,000 คน ที่ได้จากรายชื่อฐานลูกค้าที่เคยซื้อสินค้า โดยใช้เงิน 40 บาทเท่าๆ กัน

.
แน่นอนแบบที่ 2 นั้นเป็นวิธีที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว มีโอกาสในการสร้างยอดขายบนออนไลน์ หรือไม่ก็สามารถเรียกความสนใจเพื่อมาปิดการขายผ่านออฟไลน์ (หน้าร้าน หรือเซล) อย่างที่คุณถนัดได้ง่ายดายขึ้นมาก

นินจาการตลาด

Custom Audience และเครื่องมือการยิงโฆษณาตัวอื่นๆ ที่ถ้าใช้เป็น จะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดี ด้วยต้นทุนที่ประหยัดกว่าที่เคยทำ.

.

ยังมีฟังกชั่นที่หลังบ้านของ Facebook Ads ให้เลือกใช้อีกเยอะมากที่ SME ยังไม่รู้จักหรือรู้จักแต่ยังใช้ไม่เป็นกัน เช่น ฟังก์ชั่น Lookalike Audience (กลุ่มเป้าหมายที่คล้ายกัน) ซึ่งเป็นการขยายฐานลูกค้าที่มีโอกาสสูงในการปิดการขายให้มีจำนวนขยายมากขึ้นจากฐานเดิมที่มีอยู่ไม่กี่คน ซึ่ง Facebook จะรวบรวบและจัดหาให้มากสุดถึง 5 ล้านคน 
.
อันนี้เอามาต่อยอดกับ Custom Audience ได้ดีมากๆ เลย
.
ใครที่สนใจและอยากทำเป็นทั้งระบบ แนะนำไปเรียนรู้เพิ่มเติมได้จากคอร์สนี้ครับ คลิกเข้าไปอ่านรายละเอียดได้เลย

นินจาการตลาด

สำหรับใครที่ต้องการฟังเป็นคลิปที่ผมได้ LIVE เอาไว้ ก็สามารถรับชมรับฟังได้ทางนี้เลยครับ
.
จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ นินจาการตลาด

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

อ.ออดี้-กิตติชัย นินจาการตลาด
audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก