fbpx

คนไทยไม่ใช้ Google จริงหรือ ? แล้วธุรกิจไทยใช้เครื่องมืออะไรในการทำงาน

Home » คนไทยไม่ใช้ Google จริงหรือ ? แล้วธุรกิจไทยใช้เครื่องมืออะไรในการทำงาน

คนไทยไม่ใช้ Google จริงหรือ ? แล้วธุรกิจไทยใช้เครื่องมืออะไรในการทำงาน

เครื่องมือบนอินเตอร์เน็ตที่ช่วยทำให้ธุรกิจเดินหน้าได้ดีตัวหนึ่ง ในฐานะที่พวกเราเป็นนักการตลาดจะต้องรู้จักแน่ ๆ นั่นก็คือ Google ซึ่ง Google เองนั้น มีบริการมากมายมาให้พวกเราได้ใช้กัน แต่บริการที่คนทั่วโลกนิยมใช้ที่สุด (รวมถึงคนไทยด้วย) ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการใช้เครื่องมือบน Google เพื่อค้นหาข้อมูลนั่นเอง

ตามข้อมูลจาก Alexa เปิดเผยว่า Google เป็นเว็บไซต์อันดับหนึ่งที่คนไทยนิยมใช้มากที่สุด และคนไทยค้นหาข้อมูลบน Google มากกว่า 3 ล้านครั้ง/ วัน

.

แล้วในมุมของธุรกิจอย่างเรา ๆ ล่ะ ที่นอกจากการค้นหาข้อมูลทั่วไปแล้ว จะใช้ประโยชน์จาก Google ได้อย่างไรบ้าง วันนี้นินจาการตลาดจะมาทำลิสต์ไว้ให้ บอกเลยหลายคนน่าจะเคยใช้แล้ว และบางบริการของ Google หลายคนน่าจะยังไม่เคยได้ลอง ซึ่งเชื่อว่าถ้าได้ลองเอาไปใช้แล้ว น่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจของพวกเราแน่นอน
.
และนี่คือบริการย่อยของ Google ที่ทุกธุรกิจควรต้องมีติดไว้ครับ

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

1. Google Trends

.

เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์แนวโน้มการค้นหาคำต่าง ๆ ของผู้ใช้งานผ่าน Google ซึ่งช่วยให้ธุรกิจอย่างเรา ๆ ตรวจสอบได้ว่าเทรนด์และ Keyword ในการค้นหาสินค้าหรือบริการคล้าย ๆ ของเราเป็นยังไง และนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางแผนและประยุกต์ใช้ในการทำการตลาดต่อได้ เช่น การทำ Keyword Analysis และการวางแผน คิดหัวข้อ รวมไปถึง Keyword ในการทำคอนเทนต์ เพื่อให้ได้ระดับ Search Engine Optimization หรือ SEO บน Google ที่สูงขึ้น เป็นต้น

นินจาการตลาด

2. Google Ads

.

เป็นการทำโฆษณาผ่านเครือข่าย Google ซึ่งถือว่าเป็นตลาดออนไลน์ที่ใหญ่มากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกเลย ก็อย่างที่บอกไปตอนแรก ๆ ว่าคนไทยใช้งาน Google มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ในบรรดาเว็บไซต์ออนไลน์หรือ Social Media อื่น ๆ ทั้งหมด หากเราทำการตลาดผ่าน Google ก็มีโอกาสที่จะทำให้ลูกค้าเห็นโฆษณา หรือรู้จักแบรนด์ของเราในวงกว้างได้มากขึ้นนั่นเอง แต่อาจจะใช้ทุนสูงหน่อยหากต้องการผลลัพธ์ที่ดี

Google Ads

Photo: www.searchenginewatch.com

นินจาการตลาด

3. Google Tag Manager

.

สำหรับธุรกิจที่มีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง น่าจะเคยได้ยินเกี่ยวกับการติด Tag เพื่อ Track กันอยู่บ้าง ตรงนี้ขอไม่อธิบายอะไรเยอะมากนะ เดี๋ยวจะยาวเกิน เอาเป็นว่าพวก Tag ต่าง ๆ ที่นำมาติดในเว็บไซต์ของเรานั้น ถือเป็นตัวติดตามและตามติดข้อมูลที่เราต้องการมาเสิร์ฟให้ถึงที่ โดยที่เราไม่ต้องไปนั่งสืบเองให้เสียเวลา เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์หรือวัดผลต่าง ๆ ต่อไป โดยหน้าตาของ Tag เหล่านี้จะเป็นพวก  JavaScript code ที่นักโปรแกรมเมอร์คุ้นเคยกันดี ตัวอย่างของ Tag เหล่านี้ ได้แก่ Facebook Pixel, Google Analytics ฯลฯ

.

โดยในแต่ละเว็บนั้นก็จะมีจำนวน Tag มากน้อยแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับความต้องการของเราว่าอยากได้ข้อมูลจากตรงไหนบ้าง ซึ่งเครื่องมือ Google Tag Manager นี้ จะเป็นตัวช่วยที่ทำให้เราอัปเดตและแก้ไข Tag หรือข้อมูล Code ในเว็บไซต์ได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งเราสามารถทำได้เองโดยแทบจะไม่ต้องพึ่งโปรแกรมเมอร์เลย

Google Tag Manager

Photo: www.amazeemetrics.com

นินจาการตลาด

4. Google Search Console

.

เป็นเครื่องมือช่วยตรวจสอบและดูแลคุณภาพเว็บไซต์ของเราให้ถูกใจ Google มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้อันดับที่ดีที่สุดบน Google Search โดยบริการของ Google Search Console มีให้แบบจัดเต็มมาก เช่น ช่วยให้ Google ค้นพบเว็บไซต์ของเรา, ดูข้อมูลจำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ของเราผ่าน Google Search และแสดงเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ backlink กลับไปยังเว็บไซต์เรา เป็นต้น

Google Search Console

Photo: www.infront.com

นินจาการตลาด

5. Google My Business

.

เครื่องมือที่ช่วยให้ร้านค้าและธุรกิจท้องถิ่น สามารถเพิ่มข้อมูลธุรกิจของตัวเองลงในฐานข้อมูลของ Google ได้ เช่น ปักหมุดบน Maps และ Search ข้อดีของเครื่องมือนี้ก็คือ ช่วยให้ลูกค้ารู้จักและเข้าถึงธุรกิจของเราได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับร้านค้า สินค้า โปรโมชัน หรือโลเคชัน และจะมีความน่าเชื่อถือเพิ่มขึ้นไปอีก ถ้าได้รับการยืนยันบน Google

.

*เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีหน้าร้าน
.
ใครอยากสร้าง Google My Business เป็นของตัวเอง แนะนำไปอ่านบทความนี้ต่อได้เลย
.

ปักหมุด ให้ลูกค้าพบง่าย ด้วยการติดตั้ง Google My Business

Google My Business

Photo: mayecreate.com

นินจาการตลาด

6. Google Analytics

.

อันนี้น่าจะเป็นเครื่องมือที่ฮอตฮิตมากในหมู่นักการตลาด เป็นเครื่องมือที่ใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่พอสมควร เพราะเครื่องมือ Google Analytics นี้ จะช่วยให้เราเก็บข้อมูลทุกอย่างที่จำเป็นไว้แทบจะทุกอย่างแล้ว สามารถนำไปวางแผนการตลาดกันได้ยาว ๆ เลย จะลิสต์ข้อดีให้ดูคร่าว ๆ นะ

.

  • เก็บข้อมูลลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์ว่ามาจากช่องทางไหน เช่น Facebook หรือ Google ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่าช่องทางไหนเหมาะสมที่สุดในการทำการตลาด

  • เก็บข้อมูลยอดขาย การสั่งซื้อ รวมไปถึงการสมัครสมาชิก พร้อมคำนวณต้นทุนและค่าโฆษณาให้เรียบร้อย ทำให้เราวิเคราะห์ได้ว่าลงทุนทำการตลาดช่องทางไหนถึงจะได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

  • สามารถบอกได้ว่าคนที่เข้ามาดูเว็บไซต์ของเราเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ ซึ่งสามารถนำข้อมูลตรงนี้ไปวิเคราะห์ต่อได้ว่า กลุ่มเป้าหมายใดที่สร้างยอดขายให้เราได้มากที่สุด และหลังจากนี้เราจะได้โฟกัสเป้าหมายได้ถูกกลุ่ม

  • มีรีพอร์ตรายงานพฤติกรรมของผู้ใช้งานที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ว่าดูเว็บไซต์ของเราไปทั้งหมดกี่หน้า ใช้เวลาอยู่บนหน้าเว็บเท่าไหร่ ซื้อสินค้าเราหรือไม่ เป็นต้น

Google Analytics

Photo: blog.google

นินจาการตลาด

7. G Suite (Google App)

.

เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย Google ที่ช่วยซัพพอร์ตให้การบริหารจัดการข้อมูลต่าง ๆ ของเราดีขึ้น และสามารถใช้งานได้ตลอดทุกที่ ทุกเวลา รวมไปถึงทำงานเป็นทีมแบบเรียลไทม์ได้ด้วย ซึ่งเราน่าจะรู้จักและเคยได้ใช้งานกันอยู่บ้างนะ เพราะแอปพลิเคชันในตระกูล G Suite นี้ มีตั้งแต่ Google Calendar, Google Drive, Google Docs, Google Sheets, Google Slides, Google Forms, Google Drawings, Google My Maps, Google Group, Google Photos, Google Sites และอีกมากมายให้ได้เลือกใช้กัน

G Suite (Google App)

Photo: digitaltippingpoint.com

นินจาการตลาด

สรุปแล้วคนไทยยังใช้ Google กันอยู่นะ แถมยังนิยมใช้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ด้วย ซึ่งพอทราบอย่างงี้แล้ว เหล่าธุรกิจหรือนักการตลาดทั้งหลายไม่ควรมองข้ามการทำการตลาดผ่าน Google นะ อย่าทุ่มเงินและเวลาไปกับโซเชียลมีเดียอย่างเดียว เพราะบางที Google อาจจะทำเงินได้ดีกว่าก็ได้ หากยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง ก็ลองใช้เครื่องมือที่เราแนะนำไปดู เผื่อจะพอเห็นข้อมูลอะไรให้ไปต่อยอดได้บ้าง

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning 2020” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด

และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก