fbpx

Crisis Management คืออะไร? ทำไมคนทำธุรกิจต้องเข้าใจ เพื่อเตรียมรับมือ

Crisis Management คืออะไร? ทำไมคนทำธุรกิจต้องเข้าใจ เพื่อเตรียมรับมือ

เนื่องจากในวันที่ 5 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานกิ่งแก้ว ณ เวลา 03.00น.

ไฟไหม้ครั้งนี้ส่งผลกับ ปชช.ในพื้นที่เป็นวงกว้าง มีทั้งควันและสารพิษกระจายไปทั่ว เจ้าหน้าที่ดับเพลิงใช้เวลากว่า 24 ชม.ในการดับไฟ และอพยพ ปชช. ซึ่งทางด้าน นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยบรรเทาฝุ่นควัน จากเหตุดังกล่าว ปชช. ต่างไม่เห็นด้วยกันเป็นอย่างมาก เพราะถ้าเกิดมีฝนตกลงมาจะทำให้สารพิษนั้นลงไปใน แม่น้ำ, บ่อน้ำ, ลำคลอง ได้

อ่านต่อ
นินจาการตลาด

ใครอยากชมเป็นคลิปก็กดชมได้เลยครับ ส่วนใครอยากอ่านเป็นแบบบทความ เลื่อนลงไปอ่านด้านล่างได้เลยเช่นกันครับ

นินจาการตลาด

เเละในส่วนของอุปกรณ์ที่มีให้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง ก็เป็นไปได้อย่างน่าทรหด เนื่องจาก อุปกรณ์ต่าง ๆ มีไม่พอ ทั้งหน้ากาก P95 เเละ เฮลิคอปเตอร์ มีเพียงแค่ 3 ลำที่เข้ามาช่วย  รถดับเพลิงก็ยังไม่พอ

ซึ่งในเหตุการณ์ในครั้งนี้ สร้างความประหลาดใจให้กับ ปชช. เป็นอยากมาก เเละเกิดตั้งคำถามขึ้นว่า 

รถจีโน่ที่ไล่ ( ม๊อบ ) หายไปไหน ???

 

.

จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ผมนึกถึง Crisis Management เลยครับ

หลาย ๆ คนคงกำลังสงสัยว่า Crisis Management คืออะไร ?

ขึ้นชื่อว่า (Crisis) ผมคิดว่าคงไม่ว่าองค์กรไหนหรือธุรกิจไหนอยากเจอ Crisis Management 

เพราะมันก็คือ กระบวนการที่องค์กรใช้เมื่อประสบเหตุการณ์ที่คาดคิดไว้เเล้วมาเกิดขึ้น  หรืออาจเป็นภัยให้กับองค์กรและผู้ที่มีผลประโยชน์ต่อองค์กร ตัวอย่างของปัญหาในภาวะวิกฤตได้แก่ การเสียภาพลักษณ์ การดำเนินงานหยุดชะงัก ปัญหาด้านการเงิน และวิกฤตที่กระทบต่อพนักงานองค์กร 

.

โดยที่วิกฤตเหล่านี้อาจจะมาจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอกก็ได้ อาจจะเป็นการบริหารงานที่ไม่ดีในองค์กร หรืออาจจะเป็นปัญหาเศรษฐกิจระดับโลก แน่นอนว่าวิธีการแก้สถานการณ์ในช่วงวิกฤตนั้นก็ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงและชนิดของปัญหาที่เกิดขึ้น

.

เเต่สิ่งที่ทำให้ ‘วิกฤต’ มีผลกระทบต่อองค์กรมากก็เพราะว่า วิกฤตที่เป็นสิ่งที่องค์กรไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่ามันจะเกิดขึ้น ทำให้องค์กรมีเวลาน้อยในการเตรียมตัวแก้ปัญหา หากเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วองค์กรส่วนมากก็จะตกอยู่ในสภาวะที่ขาดทรัพยากรที่สามารถนำมาใช้แก้ปัญหาได้ในครั้งนั้น 

.

เเต่ภาวะวิกฤตโดยส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นโดยที่ไม่มีสัญญาแจ้งเตือนล่วงหน้า ฉะนั้นการรู้ถึงความสำคัญและขั้นตอนของการบริหารจัดการกับภาวะวิกฤตนั้น ๆ นับเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ระดับองค์กรที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญ และนำไปอยู่ในแผนงานเชิงกลยุทธ์ ดังนั้นการเตรียมการล่วงหน้าไว้ก่อนย่อมดีกว่า เเละทำให้เกิดความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ เราลองมาดูวิธีบริหารจัดการกับภาวะวิกฤตกันครับว่า มีขั้นตอนอะไรบ้าง

นินจาการตลาด

เต่ก่อนอื่นเราต้องมารู้จักกันก่อนว่า วิกฤตที่เราจะต้องเจอเเละเเก้ไขมันมีอะไรบ้าง 

วิกฤตนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม ตามลำดับความรับผิดชอบขององค์กร

.

  1. กลุ่มวิกฤตที่ส่งผลคุกคามต่อองค์กรค่อนข้างน้อย (Victim Cluster) 

องค์กรต้องรับผิดชอบในระดับน้อยมาก เช่น ภัยธรรมชาติ ข่าวลือ ความรุนแรงในที่ทำงาน การถูกใส่ความต่างๆ

 

  1. กลุ่มวิกฤตที่เป็นเหตุบังเอิญ (Accidental Cluster) 

การที่องค์กรดำเนินธุรกิจแล้วนำไปสู่ภาวะวิกฤต โดยไม่ได้เจตนา ความรับผิดชอบอยู่ในระดับกลาง เช่น การปฏิบัติงานในภาวะยากลำบากจนส่งให้เกิดผลเสียบางอย่าง ความผิดพลาดทางเทคนิคของอุปกรณ์หรือเครื่องจักร ความผิดพลาดจากผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลเสียต่อผู้ใช้

 

  1. กลุ่มวิกฤตที่สามารถป้องกันได้ (Preventable Cluster) 

วิกฤตที่เกิดจากการที่พนักงานทำผิดพลาด ส่งผลให้องค์กรต้องรับผิดชอบเป็นอย่างมาก มีภัยคุกคามอย่างร้างแรง เช่น ความผิดพลาดของพนักงานที่เกิดจากความประมาทจนนำไปสู่อุบัติเหตุ ความผิดพลาดของฝ่ายบริหาร เช่น การทุจริตในหน้าที่ ทำผิดกฎหมาย การปลอมแปลงเอกสารหรือผลตรวจสอบต่างๆที่ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

นินจาการตลาด

การจัดการเเก้ไขปัญหา หนูทำมา 2 แบบ 

1.ขั้นตอนการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management)

 

  1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการสื่อสารให้ชัดเจน

 เมื่อใดก็ตามที่เกิดภาวะวิกฤตขึ้นองค์กรจำเป็นต้องกำหนดแนวทางในการสื่อสาร ทั้งเป้าหมายและวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนและมีความเหมาะสมกับเหตุการณ์นั้นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติในลำดับต่อไป



  1. เลือกกลยุทธ์ในการตอบโต้วิกฤต

การเลือกกลยุทธ์นั้นก็ต้องเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น โดยกลยุทธ์นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 กลุ่ม

  • กลุ่มปฏิเสธ (Denial Posture) 

องค์กรจะปฏิเสธว่าไม่รู้เห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เกิด และไม่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กร เพื่อที่องค์กรนั้นจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อเรื่องราวต่างๆ

  • กลุ่มลดความสำคัญ (Diminishment Posture) 

การลดระดับความรับผิดชอบต่อวิกฤตให้น้อยลง เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรมากขึ้น หรืออีกนัยนึงคือการที่ทำให้ชื่อเสียงขององค์กรเสียหายน้อยลง  เช่น การออกมาขอโทษ การให้เหตุผล

  • กลุ่มบูรณะ (Rebuilding Posture)

กลยุทธ์ฟื้นฟูชื่อเสียงขององค์กร เช่น การออกมาขอโทษ เเละ การจ่ายค่าชดเชยให้ในรูปแบบต่าง ๆของวิกฤตที่มีผลกระทบให้เกิดความเสียหาย 

  • กลุ่มเสริม (Bolstering Posture) 

การกล่าวถึงความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆในเหตุการณ์ภาวะวิกฤตนั้นๆ เช่น การย้ำเตือนว่าความดีขององคืกรในอดีตมีอะไรบ้าง เเละ การขอความเห็นใจจากสาธารณชน ว่าองค์ได้รับความเสียหายมากน้อยเเค่ไหน

 

  1. วางแผนสื่อสารกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทุกๆการเกิดเหตุการณ์วิกฤตขึ้นนั้น องค์กรจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารกับทั้งคนภายในองค์กร ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น พนักงาน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในเหตุการณ์วิกฤต คู่ค้า สื่อมวลชน และมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดี และต้องยึดความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นที่ตั้ง

 

  1. ตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจและผู้แถลงการณ์

การตั้งทีมงานที่เกี่ยวข้องกับการรับมือในภาวะวิกฤตนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิบัติการต่างๆ รวมถึงประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้แถลงการณ์ในภาวะวิกฤตเเละ ตัวผู้แถลงการณ์เองจะต้องมีความเชี่ยวชาญ และชำนาญในด้านการสื่อสารได้เป็นอย่างดี และมีภาพลักษณ์ที่ดูจริงใจ ตัวทีมงานทุกคนต้องมีสภาวะทางอารมณ์ที่มั่นคง ทำงานภายใต้แรงกดดันอย่างมหาศาลกับสถานการณ์ต่างๆได้ ซึ่งทีมงานต้องมีข้อมูลข้อเท็จจริง และทำความเข้าใจสถานการณ์ที่กำลังเผชิญอยู่ให้ได้อย่างถูกต้องและชัดเจน

 

2.ส่วนวิธีเเละขั้นตอนการจัดการปัญหาหรือภาวะวิกฤตในครั้งนี้ (Crisis Management) มีสิ่งที่ควรทำอยู่ 2 อย่าง

  1. น้อมรับปัญหาอย่างรวดเร็ว แสดงความรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงใจ

ในเวลาที่เกิดวิกฤตแบรนด์ควรออกมาแสดงความเสียใจในสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว พร้อมแสดงความรู้สึกรับผิดชอบอย่างจริงใจ ผ่านคำขอโทษและน้อมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปตรงมา

แม้ปัญหาของวิกฤตจะเกิดจากแบรนด์เป็นผู้กระทำหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้ามีแบรนด์อยู่ในวิกฤตนั้น 

การ First Re-Action ของแบรนด์หลังเกิดเหตุการณ์เป็นสิ่งที่สำคัญในการควบคุมอารมณ์ของผู้บริโภคและผู้ได้รับผลกระทบมีความรู้สึกไม่ดีกับแบรนด์ที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เพราะ First Re-Action ที่ดีหรือไม่ดี จะพาไปสู่โอกาสหรือหายนะที่ผู้บริโภคจะมอบให้ได้

First Re-Action ของแบรนด์ถ้ามาพร้อมกับคำชี้แจง ตอบคำถามต่อปัญหาดังกล่าวให้ตรงประเด็น และเสนอทางออกที่ดีที่สุดกับปัญหาดังกล่าวยิ่งจะทำให้ผู้บริโภคมองเห็นความจริงใจของแบรนด์ที่ต้องการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง

 

  1. อัปเดตความคืบหน้าของปัญหาที่ควรแก้ไข พร้อมสร้างความมั่นใจกลับมา

ในบางวิกฤตที่เกิดขึ้นกับแบรนด์สิ่งที่ผู้บริโภคต้องการคือการเร่งแก้ไขปัญหากับสิ่งที่เกิดขึ้นตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ เมื่อแบรนด์แก้ไขปัญหาเป็นที่เรียบร้อย แบรนด์ควรแจ้งให้ผู้บริโภคทราบหรืออัปเดตความคืบหน้าของการแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะการอัปเดตเรื่องราวเหล่านี้เป็นหนึ่งในแนวทางที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคว่า แบรนด์มีความจริงใจและแก้ไขในความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจริง

2 เเบบที่ว่า ไม่รู้ว่าพี่ต้องการเเบบไหน 

.

.

ซึ่งในวันนี้ผมก็มีตัวอย่าง กรณีศึกษาการจัดการเรื่อง Crisis Management ของบางเเบรนด์มาเล่าสู่กันฟัง มาดูกันครับว่า เขาจะรับมือเเละเเก้ไขปัญหากันอย่างไร

.

เเบรนด์โออิชิ กับสิ่งแปลกปลอมในขวด 

.

เรื่องนี้มันผ่านมานานมาเเล้วล่ะครับ เเต่ผมมองว่าวิธีการรับมือกับ Crisis Management ของเขามันน่าสนใจมาก

ถ้าย้อนกลับไปเมื่อปี 2548 ขาเขียวโออิชิถูกผู้บริโภคร้องเรียนถึง 2 ครั้งในเวลาใกล้เคียงกัน 

ครั้งแรกร้องเรียนว่าชาเขียวโออิชิที่ดื่มมีกรดเกลือเจือปน ทำให้รู้สึกแสบปากและลำคอจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล 

ครั้งที่สองคือพบสิ่งแปลกปลอมในชาเขียวที่มีลักษณะเหมือนเชื้อราทำให้เกิดท้องเสียอย่างรุนแรงหลังดื่มขาเขียวไป

.

ตัน ภาสกรนที ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เขาได้ออกมาแก้ไขวิกฤตในครั้งนั้นด้วยการออกมาขอโทษและเดินทางไปเยี่ยมลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการดื่มชาเขียวโออิชิด้วยตัวเอง พร้อมกับออกค่ารักษาพยาบาลให้ทั้งหมด นอกจากนี้ ยังได้ออกมาขอโทษสังคมและชี้แจงยืนยันถึงกระบวนการผลิตที่รัดกุม และสร้างความมั่นใจด้วยการเปิดโรงงานให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี เข้าตรวจสอบระบบการผลิตภายในโรงงาน และเก็บชาเขียวล็อตที่มีปัญหาออกจากตลาดทั้งหมด

เเละเขาพร้อมแก้ไขความเชื่อมั่นให้กลับมา ด้วยการนำบุคคลในครอบครัวทั้งหมดมาเป็นพรีเซนเตอร์ดื่มชาเขียวโชว์ เพื่อให้ผู้บริโภครู้สึกว่า ชาเขียวโออิชิดื่มแล้วปลอดภัย

.

นอกจากนี้ เขายังเปิดแคมเปญรวยฟ้าผ่า พลิกฝาโออิชิ กรีนที ลุ้นรางวัลเงินสด 1 ล้านบาททันที ใต้ฝาขวด ขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวถือว่า คุณตันสามารถแก้วิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างน่าสนใจ เพราะอย่างน้อยผู้บริโภคยังรู้สึกว่าผู้บริหารออกมาแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น และยังสร้างกระแสให้คนลืมเหตุการณ์ดังกล่าวพร้อมกับดันยอดจำหน่ายผ่านแคมเปญชิงโชคจนยอดจำหน่ายโออิชิในเวลานั้นเติบโตอย่างรวดเร็วขึ้นเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้วยส่วนแบ่งตลาด 60% เลยทีเดียว

 

สุดท้ายแล้ว ผมอยากให้ทุกคนเข้าใจว่าต่อให้บริษัทมีการเตรียมตัวแก้ภาวะวิกฤตดีแค่ไหน บางครั้งวิกฤตที่ร้ายแรงก็เกิดขึ้นได้โดยองค์กรไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หมดทุกอย่าง ในส่วนนี้ผมคิดว่าองค์กรก็ต้องอาศัยความใจเย็น พยายามทำให้ดีที่สุด แล้วลองหาวิธีสร้างสรรค์ที่สามารถช่วยให้ก้าวผ่านอุปสรรคนี้ไปได้

นินจาการตลาด
สามารถติดตามเนื้อหาสุด Exclusive ของนินจาการตลาดที่ไม่ได้ลงที่ไหนและคอร์สเรียนฟรี ให้พิเศษเฉพาะใน Facebook กลุ่มปิด “Digital Media Planning” คลิกไปขอเข้าร่วมได้เลย มีอัปเดตเนื้อหาอยู่ตลอด
นินจาการตลาด
และหากมีคำถามอยากให้ช่วยเหลือด้านการสื่อสารการตลาดดิจิทัล ทั้งเรื่องเครื่องมือ (Media), เนื้อหา (Content) และ กลยุทธ์ (Strategy) สามารถเข้าไปทักสอบถาม อ.ออดี้ และผู้รู้มากมายใน “หมู่บ้านนินจา” LINE OpenChat 

ติดตามอ่านความรู้ด้านกลยุทธ์การตลาดได้ในบทความครั้งต่อไป
กับ อ.ออดี้ – กิตติชัย ได้ใน Blog ของ นินจาการตลาด ที่นี่…

audy

audy

Leave a Replay

Sign up for our Newsletter

ติดตามบทความด้านการตลาดฟรีๆมากมายเพียงกรอกอีเมล์ด้านบนนี้

Shopping Cart
Scroll to Top

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึก